Thursday, May 18, 2017

โรคพาร์กินสันเป็นอาการเสื่อมทางสมองเรื้อรังและจะมีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

เผยแนวทางการสังเกตร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติในอาการของโรคพาร์กินสัน
โรคพาร์กินสันเป็นอาการเสื่อมทางสมองเรื้อรังและจะมีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้การควบคุมการเคลื่อนไหว การพูด และการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ ในร่างกายเสื่อมลง  โดยทางสถิติน่าจะมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้ในประเทศไทย ประมาณ 40,000 - 50,000 คน ซึ่งในบางส่วนอาจยังไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง ตลอดจนยังไม่ได้รักษาอย่างถูกวิธี

อาการของโรคพาร์กินสัน 
อาการหลักของโรคพาร์กินสันจะมีอาการแสดงของโรคมากหรือน้อยนั้นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย และระยะเวลาการเป็นโรค และภาวะแทรกซ้อนที่ตามมา ซึ่งอาการของโรคประกอบด้วย อาการหลัก ได้แก่
1.อาการสั่น
อาการสั่นเป็นอาการเริ่มต้นของโรคพาร์กินสัน มักสั่นมากเวลาอยู่นิ่ง ๆ แต่ถ้ามีการเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ อาการสั่นจะลดลงหรือหายไปเอง
2. อาการเกร็ง
อาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อทำให้รู้สึกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะแขน ขาและหลัง โดยที่ไม่ได้เคลื่อนไหวหรือทำงานหนัก กล้ามเนื้อจะมีความตึงตัวสูงและเกร็งแขนอยู่ตลอดเวลา 
3. อาการเคลื่อนไหวช้า
อาการเคลื่อนไหวไม่กระฉับกระเฉงว่องไวเหมือนเดิม  โดยการเคลื่อนไหวเริ่มช้าลง  เริ่มเดินช้า ทำกิจกรรมต่าง ๆ ช้าลงกว่าเดิมมาก
 4. อาการสูญเสียการทรงตัว 
เมื่อมีอาการสูญเสียการทรงตัวอาจจะมีอาการที่อาจพบร่วมด้วย ได้แก่ อาการน้ำลายไหล  เขียนตัวหนังสือเล็ก เดินไม่แกว่งแขน เดินซอยเท้า เท้าติด ยกเท้าลำบาก หกล้มบ่อย นอนไม่หลับ เป็นต้น 
ในปัจจุบันโรคพาร์กินสันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม รวมทั้งการเปลี่ยนถ่ายของเซลล์ตัวอ่อน หรือวิธีล้างสารตกค้างจากร่างกาย เนื่องจากยังไม่รู้ถึงสาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ว่าเกิดจากอะไร     


No comments:

Post a Comment