ข้อปฏิบัติในการดูแลรักษาของผู้ป่วยภาวะกรดไหลย้อน
การกินอาหารที่ไขมันสูง ของทอดและอาหารผัดน้ำมัน หรือข้าวผัด จะทำให้กระเพาะอาหารเคลื่อนไหวช้าลงและ ทำให้มีโอกาสเกิดกรดไหลย้อนได้มากขึ้น ส่วนการสูบบุหรี่หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาร์บอเนตประเภทน้ำอัดลมมากไป รวมทั้งการกินอาหารเผ็ดจัด ซอสมะเขือเทศ หัวหอม กระเทียม น้ำมะเขือเทศ น้ำองุ่น น้ำผลไม้เปรี้ยว ผลไม้เปรี้ยว ช็อกโกแลต น้ำส้ม คั้น หรือสะระแหน่ และการใช้ยาบางชนิด จะเสริมให้หูรูดคลายตัว หรือมีกรดหลั่งมากขึ้น เหล่านี้ต่างเป็นสาเหตุของโรคกรดไหลย้อนได้ รวมทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือกาเฟอีน อย่างพวก กาแฟ หรือยาชูกำลัง นอกจากจะเป็นการกระตุ้นให้หลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้นแล้ว ยังเสริมให้หูรูดคลายตัวอีกด้วย การนอนราบภายใน 2 ชั่วโมงหลังกินอาหาร หรือการนั่งงอตัว โค้งตัวลงต่ำ จะทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้ง่ายขึ้น
สาเหตุของโรคต่างๆ ที่ทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อน
โรคหืด เชื่อว่าเป็นผลมาจากการไอและหอบ ทำให้เพิ่มแรงดันในช่องท้อง ทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อน ส่วนใครที่เป็นแผลเพ็ปติก หรือมีการใช้ยากลุ่มอนุพันธ์ฝิ่น จะทำให้อาหารขับเคลื่อนลงสู่ลำไส้ช้าลง ทำให้เป็นโรกรดไหลย้อน และยังพบว่ามีปัจจัยกระตุ้น ให้โรคกำเริบที่สำคัญคือ การกินอิ่มมากไป โดยกินอาหารมื้อใหญ่หรือปริมาณมากซึ่งจะทำให้เกิดการกระตุ้นให้มีน้ำย่อยหลั่งออกมามาก การขยายตัวของกระเพาะอาหารทำให้หูรูดคลายตัวมากขึ้น
อาการของโรคกรดไหลย้อน
ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนจะมีอาการปวดแสบตรงลิ้นปี่หรือยอดอก หลังรับประทานอาหาร ช่วงเวลา 30-60 นาที หรือหลังกินอาหารแล้วล้มตัวลงนอนราบ แต่ละครั้งมักปวดอยู่นาน 2 ชั่วโมง และมักมีอาการมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์และอาการเป็น ๆ หายๆ และเป็นเรื้อรัง บางคนอาจมีอาการปวดแสบร้าวจากยอดอกขึ้นไปถึงคอหอย คล้ายอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือมีอาการจุกแน่นทียอดอกหรืออาจมีอาการคลื่นไส้ เรอบ่อยๆ หรือมีก้อนจุกที่คอหอย
บางคนอาจมีอาการขย้อนหรือเรอเอาน้ำย่อยรสเปรี้ยวขึ้นไปที่คอหอย หรือรู้สึกมีรสขมของน้ำดี และลมหายใจมีกลิ่น มีความเปรี้ยวปาก อาจมีอาการเสียงแหบ บางรายตอนตื่นนอนอาจรู้สึกขมคอ เจ็บคอ หรือแสบลิ้น เป็นเรื้อรังแรมเดือนซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน
No comments:
Post a Comment