Sunday, September 24, 2017

โรคเกล็ดเลือดต่ำ หากตรวจพบว่าเป็นแล้วได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดอาการ

โรคเกล็ดเลือดต่ำ...หาทางป้องกันยาก...แต่รักษาได้นะ!!

โรคเกล็ดเลือดต่ำ หากตรวจพบว่าเป็นแล้วได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดอาการก็จะทำให้ปลอดภัยและหายขาดได้ แต่หากปล่อยไว้ อันตรายสุดๆ โดยเฉพาะเด็กๆ หรือผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่องซึ่งหากได้เรียนรู้เกี่ยวกับโรคเกล็ดเลือดต่ำ จะช่วยให้คุณ เข้าใจ และรับมือได้ถูกต้อง   ยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับโรคเกร็ดเลือดต่ำว่ามีสาเหตุมาจากอะไร  ซึ่ง โรคเกล็ดเลือดต่ำ ( ITP immune thrombocytopenic purpura) เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเกิดการต่อต้านเกล็ดเลือดที่อยู่ในกระแสเลือดของตัวเอง

ภาวะของการเกิดเกล็ดเลือดต่ำ
แพทย์ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรคเกล็ดเลือดต่ำ แต่มีข้อสันนิษฐานว่าผู้ที่เป็นอาจได้รับเชื้อไวรัสบางชนิด แล้วร่างกายมีภาวะภูมิคุ้มกันโดยการสร้างแอนตี้บอดี้ไปทำลาย แต่แอนตี้บอดี้อาจหลงเหลืออยู่ในกระแสเลือด จึงเกิดการทำลายเกล็ดเลือดของผู้ป่วยเอง ในขณะเดียวกันเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวยังคงทำงานปกติ ซึ่งโรคเกล็ดเลือดต่ำ สามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่จะพบบ่อยในเด็กอายุ 2-6 ขวบ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง สำหรับเด็กทีเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำ แม้จะสามารถสร้างภูมิต้านทานได้แล้ว แต่ก็ทำให้อาจได้รับไวรัสบางชนิดหรือแม้แต่การหยิบจับสิ่งของ หากพบในเด็กที่อายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ทำให้มีโอกาสเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำชนิดเรื้อรัง( CHRONIC ITP) ได้สูงขึ้น

อาการที่เห็นได้ชัดของโรคเกล็ดเลือดต่ำ
ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ในภาวะปกติระดับเกล็ดเลือดจะต้องอยู่ที่ 150,000 – 400,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร  ซึ่งเกล็ดเลือดจะมีหน้าที่ช่วยห้ามเลือดที่เกิดจากบาดแผล และจะทำการจับตัวกันเป็นก้อนที่ผนังของหลอดเลือด เพื่อทำการหยุดการไหลของเลือด  อาการของโรคเกล็ดเลือดต่ำจะเห็นได้ว่ามีรอยฟกช้ำ จ้ำเลือด ในบริเวณที่ไม่น่าจะเกิดการกระทบหรือกระแทกง่ายอย่างบริเวณลำตัว หน้าท้อง หรือหลัง โดยใช้เวลานานเป็นสัปดาห์กว่าจะหาย หรือหากมีการชนหรือกระแทก อาการเขียวช้ำอาจจะนานมากที่รอยจะจางลง และมากกว่าที่ควรจะเป็น  บางคนมีเลือดกำเดาไหลนาน และไม่หยุดทั้งๆ ที่กดห้ามเลือดอย่างถูกวิธีแล้ว

การรักษาโรคเกล็ดเลือดต่ำ ขึ้นอยู่กับระดับของเกล็ดเลือดอาจสังเกตอาการ ไม่ให้เกิดการกระทบกระแทก และหลีกเลี่ยงการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดบาดแผลที่ทำให้เลือดออก แต่หากเกล็ดเลือดมีระดับต่ำมาก ไม่ถึง 20,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร จำเป็นต้องได้รับการรักษาเนื่อง ซึ่งแพทย์จะรักษาด้วยการให้ยาสำหรับยับยั้งการทำลายเกล็ดเลือด IVIG ซึ่งเป็นวิธีรักษามาตรฐานที่ได้ผลวิธีหนึ่ง   


สถานะ : Public

No comments:

Post a Comment