Thursday, November 24, 2016

ความรู้เรื่องแนวทางในการรักษาผู้ป่วยโรคหนังแข็ง (systemic sclerosis)

ความรู้เรื่องแนวทางในการรักษาผู้ป่วยโรคหนังแข็ง (systemic sclerosis)
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคหนังแข็งที่ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถหยุดยั้งการดำเนินโรคได้  จึงทำได้โดยการให้การรักษาตามอาการและประคับประคองจนกว่าโรคจะเข้าสู่ระยะสงบหรือหายได้เอง  และเฝ้าระวังพยาธิสภาพที่เกิดกับอวัยวะภายในที่สำคัญ เช่น ไต ปอดและหัวใจ เพื่อให้การรักษาที่จำเพาะซึ่งพิสูจน์ว่าสามารถลดอัตราตายของผู้ป่วยโรคหนังแข็งได้
แนวทางการรักษา
โรคหนังแข็งเป็นโรคที่เรื้อรัง แพทย์ต้องแนะนำให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงโรค และวิธีการทำกายภาพบำบัดเพื่อความคล่องตัวในการใช้ชีวิตประจำวันให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย  ผู้ป่วยต้องเข้าใจว่าบางครั้งโรคนี้อาจหายได้เองแม้จะต้องใช้เวลานาน  และในขณะเดียวกันจะต้องเฝ้าระวังไม่ให้โรคลุกลามไปยังอวัยวะภายในเพื่อที่จะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
การดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคหนังแข็ง
ประคบอุ่น สวมถุงมือ หลีกเลี่ยงอากาศเย็น อาบน้ำอุ่นพอให้สบายแต่ไม่ควรให้น้ำนั้นร้อนจัด ใช้สบู่อ่อน ๆ และขัดถูร่างกายเพียงเบาๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวแห้งแตก และใช้ครีมทาผิวหนังหลังอาบน้ำ  ถ้าโดยปกติแล้วสูบบุหรี่ต้องงดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงผู้สูบบุหรี่ และมลภาวะทางอากาศ  และต้องหมั่นตรวจวัดความดันโลหิตเป็นระยะๆอย่างน้อยเดือนละ ครั้ง  
ควรรีบปรึกษาแพทย์ ในกรณีต่าง ๆ ดังนี้
ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว  ไข้สูง  กลืนอาหารลำบาก หรือกลืนอาหารแล้วเกิดการสำลัก  ไอ เหนื่อยหอบ  ใจหวิว ใจสั่น
เจ็บหน้าอก  ท้องเสีย ถ่ายเหลว ท้องอืด หรือท้องผูกไม่ถ่ายเกิน วัน  แขน  ขาอ่อนแรง ลุกเดินลำบาก  เบื่ออาหาร น้ำหนักลด กิโลกรัมใน เดือน

ลักษณะเด่นของโรคหนังแข็ง นั้นอาการทางผิวหนังจะเริ่มจากผิวหนังที่บวมตึงหนา โดยเฉพาะที่ มือเท้า แขนขา และใบหน้า หลังจากเกิดอาการบวมได้ระยะหนึ่งอาจเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนผู้ป่วยจะมีสีผิวที่เข้มขึ้น ผิวหนังหนาและแข็งมากขึ้นจนกำมือได้ไม่สนิทและเหยียดนิ้วมือไม่ออก ใบหน้าตึงแข็งจนริ้วรอยเหี่ยวย่นหายไป ผู้ป่วยจะมีอาการอ้าปากกว้างไม่ได้

No comments:

Post a Comment