Thursday, November 24, 2016

โรคพาร์กินสัน เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดขึ้นเนื่องจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทในก้านสมอง

เทคนิคในการสังเกตอาการของโรคพาร์กินสันอย่าปล่อยให้โรคนี้ทำลายชีวิตคนที่คุณรักอีกต่อไป 

โรคพาร์กินสัน เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดขึ้นเนื่องจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทในก้านสมอง ทำให้มีการผลิตสารที่ชื่อสารโดปามีนน้อยลง ส่งผลให้สมองสูญเสียการควบคุมการสั่งงานของกล้ามเนื้อ  แต่ด้วยวิทยาการความก้าวหน้าทางการแพทย์ในโลกปัจจุบันนี้สามารถที่จะพิชิตโรคพาร์กินสันได้

เทคนิคการสังเกตอาการที่อาจบ่งบอกว่าอาจเป็นโรคพาร์กินสัน       
อาการของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันนี้ที่สำคัญคือ อาการเสียการทรงตัว  อาการสั่น อาการเกร็ง และอาการเคลื่อนไหวช้า
1.  อาการเสียการทรงตัว
ผู้ป่วยมักมีท่าหลังงอ ไหล่ห่อ เข่าย่อลงเนื่องจากมีการแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย มีการเดินไม่ถนัด ทำกิจวัตรประจำวันได้น้อยลงหรือไม่ได้ 
2.  อาการสั่น 
เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด มักเป็นที่ส่วนปลายคือนิ้วมือหรือแขนท่อนล่าง โดยอาการจะเริ่มสั่นเพียงข้างเดียวก่อน และเป็นอยู่นานเป็นปีก่อนจะข้ามมาเป็นอีกข้างหนึ่ง อาการสั่นนี้จะเป็นในขณะอยู่เฉยๆหรือนั่งนิ่งๆ และจะลดลงหรือหายไปหากผู้ป่วยมีการเคลื่อนการผ่าตัดรักษาโรคพาร์กินสัน และในระยะท้ายของโรคนี้อาการสั่นจะรุนแรงมากขึ้นอาจพบมีอาการสั่นบริเวณ ศีรษะ  เท้า  และบริเวณขากรรไกรด้วย
3.  อาการเกร็ง
มักพบตามลำตัวและแขนมากกว่าขา อาการแข็งเกร็งจะเป็นมากขึ้น เมื่อมีการเคลื่อนไหวหรือขยับ และจะดีขึ้นในขณะผ่อนคลายหรือหลับ สังเกตได้ว่าเวลาเดินผู้ป่วยมีการแกว่งแขนน้อยลง สีหน้าเฉยเมย กะพริบตาน้อยลง พูดเสียงเบา
4.  อาการเคลื่อนไหวช้า 
เนื่องจากมีการแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อ ทำให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวช้าลง และมีการขยับตัวน้อยกว่าคนปกติทั่วไป เช่น ไม่ค่อยเกา ไม่ค่อยเปลี่ยนท่วงท่า  เป็นต้น
       
อาการสั่นเป็นอาการเริ่มต้นของโรคพาร์กินสัน มักสั่นมากเวลาอยู่นิ่ง ๆ แต่ถ้ามีการเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ อาการสั่นจะลดลงหรือหายไปเอง

No comments:

Post a Comment