Sunday, September 24, 2017

โรคเก๊าท์เป็นโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติในการเผาผลาญสารพิวรีน

การหลีกเลี่ยงอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์เป็นโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติในการเผาผลาญสารพิวรีน (PURINE) ในกระบวนการการเผาผลาญสารอาหารนั้นจะทำให้เกิดกรดยูริก โดยพบว่าในคนปกติจะมีกรดยูริกประมาณ 1,000 มิลลิกรัม และสามารถขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ ได้ประมาณ 700 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ในกรณีของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ จะพบว่ามีการขับถ่ายลดลงกว่าคนปกติ ดังนั้นจึงมีการสะสมของกรดยูริคอยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกายโดยเฉพาะตามข้อกระดูกและพังผืดรวมถึงระบบทางเดินปัสสาวะ จนทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรง โดยเฉพาะที่ข้อนิ้วเท้า

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
พบว่าอาหารบางชนิดที่มีพิวรีนสูง ดังนั้นผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทนี้ เช่น อาหารประเภทเครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก เนื้อสัตว์ น้ำสกัดจากเนื้อสัตว์ ไข่ปลา กุ้ง หอยปลาอินทรีย์ กระถิน ชะอม ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ หากรับประทานมากเกินไป จะทำให้กรดยูริคในเลือดสูงขึ้น  ส่วนอาหารที่มีปริมาณสารพิวรีนปานกลาง ได้แก่ เบียร์และเหล้าต่างๆ เนื้อหมู เนื้อวัว ปลาหมึก ปู ปลากะพงแดง ใบขี้เหล็ก สะตอ ผักโขม ดอกกะหล่ำ ยอดแค ถั่วลิสง ถั่วลันเตา เห็ด ตำลึง แตงกวา หน่อไม้ หน่อไม้ฝรั่ง ซึ่งผู้ป่วยสามารถรับประทานได้บ้างแต่ไม่บ่อย และอาหารประเภทที่มีพิวรีนต่ำ ผู้ป่วยสามารถกินได้ตามไม่จำกัด ซึ่งได้แก่ ธัญพืชชนิดต่างๆ  ข้าว ขนมปังขาว นมและผลิตภัณฑ์จากนม เช่น เนยเหลว เนยแข็ง ไข่ น้ำตาล วุ้น ผักและผลไม้ต่างๆ เป็นต้น

ยาที่ควรหลีกเลี่ยง
นอกจากอาหารที่มีผลต่อสารพิวรีนของผู้ป่วยโรคเก๊าท์แล้ว การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาลดความดันโลหิตก็ยังมีส่วนในการทำให้กรดยูริคในเลือดสูงขึ้นอีกด้วย และการดื่มน้ำให้มาก ๆ อย่างน้อยวันละ 3 ลิตร จะช่วยเพิ่มการขับกรดยูริกออกทางไต และช่วยลดโอกาสการตกตะกอนจนเป็นนิ่วในไตได้  การรับประทานผักและผลไม้ชนิดต่าง ๆ ให้มากขึ้น จะช่วยลดความเป็นกรดในปัสสาวะ และยังส่งผลให้เกิดการขับปัสสาวะมากขึ้น  อย่างไรก็ตาม คนเป็นโรคเกาต์ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักยอดอ่อนตามที่กล่าวมาข้างต้น

อาหารเหล่านี้แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคเก๊าท์สำหรับคนปกติ แต่หากผู้ป่วยโรคเก๊าท์ที่มีกรดยูริคสูงอยู่แล้วรับประทานเข้าอาหารเหล่านี้เข้าไป อาจจะทำให้เกิดโรคกำเริบบ่อยขึ้นได้ ดังนั้นอาหารจึงจัดเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมอาการของโรค ถึงแม้ว่าโรคเก๊าท์จะเป็นโรคที่ไม่ได้ร้ายแรงจนเป็นสาเหตุให้เกิดการเสียชีวิต แต่อาจจะเป็นต้นตอของโรคแทรกซ้อนต่างๆที่อันตรายยิ่งกว่านี้ได้ ทั้งนี้ยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการใช้ชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่คือการรีบเร่งรักษาเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เราจะต้องทรมานกับอาการปวดเหล่านี้อีกต่อไป

No comments:

Post a Comment