Tuesday, September 26, 2017

โรคหนังแข็งเป็นโรคเรื้อรังที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับความผิดปกติ

เผยแนวทางการรักษาโรคหนังแข็ง  โรคที่สตรีวัย 40 ปีควรระวัง
 
รักษาโรคหนังแข็ง คลิก >> http://sclherb.lnwshop.com/
โรคหนังแข็งเป็นโรคเรื้อรังที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผิวหนังจะแข็ง ๆ ตึง ๆ  บริเวณที่ปลายนิ้วจะเป็นสีเขียวเมื่อเวลาที่ถูกความเย็น  อาการอาจเป็นเฉพาะผิวหนังอย่างเดียว หรือพบอาการระบบอื่นด้วย

สำหรับโรคหนังแข็งจะพบมากในเพศหญิง เริ่มมีอาการช่วงอายุ 40 ปี อาการที่เกิดอาการของโรคหนังแข็งนี้เกิดขึ้นในระยะเวลาที่แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย บางรายขยายตัวเร็วมากในระยะเวลาเพียง 1-2 เดือน แต่บางรายก็มีอาการค่อยเป็นค่อยไปอาจใช้เวลาหลายเดือนหรือร่วมปี อาการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วคือลักษณะอาการในกลุ่มที่มีอาการรุนแรง และมักเกิดภาวะแทรกซ้อนของอวัยวะภายในได้บ่อยกว่า

การรักษา
เนื่องจากการโรคหนังแข็งรักษาค่อนข้างยาก ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ส่วนใหญ่สาเหตุสำคัญที่สุด ที่ทำให้การรักษาไม่ได้ผลคือ การพบแพทย์ช้า ทำให้ไม่ได้เริ่มรักษาตั้งแต่ระยะแรกของโรค

 โรคหนังแข็งนี้ มักพบผู้ป่วยที่เป็นเพศหญิง ระยะช่วงอายุที่พบสูงสุดคือช่วงอายุ 40-50 ปี  และอาจเกิดอาการผิวหนังแข็งเฉพาะที่แขน  ขา โรคผิวหนังแข็งบางชนิดอาจเกิดอาการผิวหนังแข็งที่บริเวณใบหน้าเพียงซีกเดียว  ดังนั้นคุณผู้หญิงที่ช่วงอายุ 40 – 50 ปีควรดูแลสุขภาพให้ดีเพื่อป้องกันการเกิดโรคหนังแข็งเพราะกันไว้ย่อมดีกว่าแก้ หากสงสัยควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
อาการของโรคหนังแข็งจะหลากหลายมากเนื่องจากระยะเวลาที่ผู้ป่วยที่พบแพทย์จะแตกต่างกัน ซึ่งเมื่อได้พบแพทย์แล้วแพทย์ก็จะอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโรค เพื่อคลายความกังวลและป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยด้วยอาการของโรคหนังแข็งต้องแสวงหาการรักษาตามความเชื่อที่อาจจะไม่ถูกต้องตามหลักวิชา


สถานะ : Public

และปัญหาเรื่องของขนคุดก็เป็นหนึ่งในปัญหาเหล่านั้น

2  วิธีในการลดปัญหาและรักษาขนคุดได้ง่าย ๆ
ปัญหาของเรื่องเกี่ยวกับความสวยความงามที่คอยกวนใจคุณผู้หญิงแทบจะทุกวัยนั้นมีอยู่มากมายหลายอย่างเลยทีเดียว
และปัญหาเรื่องของขนคุดก็เป็นหนึ่งในปัญหาเหล่านั้นที่หลายคนต้องพบเจออยู่บ่อยๆ

สาเหตุหรือที่มาของการเกิดเป็น ขนคุด
สาเหตุหรือที่มาของการเกิดเป็นขนคุดนั้นก็คือเป็นขนที่เกิดมาใหม่ ภายหลังจากการโกนขนในบริเวณส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการโกนขนหน้าแข้ง  การโกนหนวด เครา  หรือขนรักแร้ เป็นต้นซึ่งขนที่เกิดการงอกขึ้นมาใหม่นี้ จะเกิดการม้วนงอตัวกลับเข้าไปทิ่มในรูขุมขน จนกระทั่งผิวหนังบริเวณนั้น เกิดการอักเสบขึ้นมานั่นเอง 

วิธีการรักษาขนคุด
วิธีการรักษาขนคุดนั้นจริงๆ แล้ว ไม่มีวิธีทำให้หายขาดตลอดไปได้ แต่จะค่อยๆ ลดอาการลงไปเอง เมื่อมีอายุมากขึ้นแต่การบรรเทาอาหารขนคุด  หรือการลดขนคุดนั้น สามารถทำได้ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

1.  ใช้สบู่อ่อน ๆ หรือสบู่เด็ก 
ในการทำความสะอาดสิ่งสกปรกต่าง ๆ หลีกเลี่ยงการขัดผิว เพราะจะทำให้ผิวเกิดความแห้งมากขึ้น  และต้องทาครีม หรือโลชั่นที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง ทั้งนี้ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ และน้ำหอมด้วย                   อีกทั้ง ควรหลีกเลี่ยงการบีบ เค้น แกะตุ่มที่เกิดจากขนคุด ด้วยเพราะจะยิ่งไปทำให้มีอาการรุนแรงขึ้น
 2.  การทำเลเซอร์เพื่อกำจัดขน
สถานะ : Public
Tags : โรคขนคุด
x
 เป็นการใช้ความร้อนจากแสงเลเซอร์ เพื่อทำลายรากขน ซึ่งโดยปกติแล้ว ต้องทำการรักษาประมาณ ครั้ง หรืออาจจะน้อยกว่านี้ ก็แล้วแต่ร่างกายของแต่ละคนนั่นเอง

ขนคุดนั้นโดยปกติแล้ว ไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาอันตรายกับสุขภาพ แต่เพื่อเป็นการป้องกันปัญหา ไม่ให้ขนคุดเกิดการกวนใจอีกก็ต้องหาทางหลีกเลี่ยงการโกนก็จะช่วยลดปัญหาการเกิดขนคุดให้น้อยลงไปได้


Sunday, September 24, 2017

การดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคผิวหนังอักเสบตามขั้นตอนต่อไปนี้

เทคนิคการดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคผิวหนังอักเสบ
โรคผิวหนังอักเสบเป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่น่ารำคาญและรักษาให้หายขาดได้ยาก ซึ่งเมื่อโรคกำเริบในระยะแรก ผิวหนังจะมีตุ่มใสขนาดเล็กและคันเมื่อเกาก็จะทำให้ผิวหนังแห้งและมีสะเก็ดซึ่งการดูแลตนเองที่บ้านควรเน้นรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนังจะลดอาการคันและช่วยให้หายเร็วขึ้น

การดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคผิวหนังอักเสบตามขั้นตอนต่อไปนี้
ในช่วงฤดูหนาว
ดูแลให้ผิวชุ่มชื้นอยู่เสมอ และหมั่นทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศเป็นประจำเพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อราและเชื้อโรคต่าง ๆ

ในช่วงฤดูร้อน
ควรอยู่ในที่เย็น ๆ เพราะการมีเหงื่อออกมากในช่วงฤดูร้อนอาจกระตุ้นให้ผื่นกำเริบ จึงควรอยู่ในที่เย็น ๆ หรือเปิดเครื่องปรับอากาศให้เย็นสบายตลอดเวลา

หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำและผงซักฟอก ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ก็ให้สวมถุงมือผ้าฝ้ายไว้ข้างในแล้วสวมถุงมือยางทับอีกชั้น อย่าให้มือสัมผัสยางโดยตรง เพราะบางคนอาจเกิดอาการแพ้และกระตุ้นให้ผื่นขยายตัวเพิ่มขึ้น

หลีกเลี่ยงสารซักล้างทุกชนิดใช้ผลิตกัณฑ์ที่ไม่มีสารระคายเคือง ไม่ผสมกลิ่น และสี หลีกเลี่ยงน้ำยาฟอกขาว และน้ำยาปรับผ้านุ่ม เมื่อซักผ้า ให้ซักน้ำเปล่าเพิ่มขึ้นอีก รอบ เพื่อกำจัดน้ำยาซักผ้าออกให้หมด

หากรักษาเองแล้ว ยังมีผื่นขึ้นเป็นบริเวณกว้าง หรือกำเริบบ่อย ควรพบแพทย์ หากผื่นเริ่มแสดงอาการติดเชื้อ เช่น ปวดแผล มีหนอง ผิวแตกเป็นริ้วสีแดง เจ็บปวดรุนแรง บวม หรือไขขึ้น ก็ควรรีบพบแพทย์

การทาครีมบำรุงเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวอย่างเต็มที่คือสิ่งสำคัญที่ช่วยให้โรคผิวหนังอักเสบหายเร็วขึ้นเคล็ดลับง่าย ๆ ที่ควรปฏิบัติคือ หลังจากอาบน้ำเสร็จใหม่ ๆ ให้ชโลมผิวบริเวณที่มีอาการด้วยครีมเพิ่มความชุ่มชื้น 

ข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคที่รักษาได้

เชื่อหรือไม่??? กายภาพบำบัดช่วยรักษาโรครูมาตอยด์ได้ ??

http://rheumatoid.lnwshop.com/

ข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคที่รักษาได้ และสิ่งปกติที่เกิดขึ้นกับข้อส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่ป้องกันและรักษาได้  ที่สำคัญการรักษาโรครูมาตอยด์ ต้องอาศัยการกินยาแอสไพรินอย่างสม่ำเสมอนานเป็นเดือน ๆ หรือเป็นปี รวมทั้งอาจมียาอื่นๆ ตามคำแนะนำของแพทย์เฉพาะทางเพื่อรักษาอาการให้หายเร็วขึ้น ซึ่งกว่าอาการของโรครูมาตอยด์จะทุเลาจนร่างกายเกือบเป็นปกตินั้น จะต้องใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 3-4  เดือน แต่จะต้องกินยาแอสไพรินติดต่อกันไปเรื่อย ๆ เมื่อรู้สึกแข็งแรงจนเป็นปกติแล้ว จึงค่อย ๆ หยุดยา ....ว่ากันว่านอกจากการกินยาแล้ว การหันมาออกกำลังกายและทำกายภาพบำบัดก็สามารถช่วยให้หายจากโรคนี้ได้ ??

กายภาพบำบัด..แสงสว่างของผู้ป่วยรูมาตอยด์
นอกจากการกินยาแอสไพรินหรือยาตามที่แพทย์จัดให้แล้ว ผู้ป่วยรูมาตอยด์จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะค่อยๆ แข็งแรงขึ้น ที่สำคัญจะต้องมีความอดทนและมีกำลังใจและหันมาฝึกกายบริหารให้กล้ามเนื้อและข้อต่าง ๆ แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะไม่มีวิธีหรือยาวิเศษใด ๆ ในโลกนี้ขณะนี้ที่จะทำให้โรคที่เป็นอยู่หายได้ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งการรักษาทางกายภาพบำบัดเป็นหัวใจของการรักษาโรครูมาตอยด์ ที่มีความสำคัญรองจากยาระงับอาการอักเสบ อย่างแอสไพริน เพราะการที่ผู้ป่วยจะฟื้นฟูสมรรถภาพของข้อต่าง ๆ  เพื่อให้ใช้งานได้ดีที่สุดเพียงใดขึ้นอยู่ที่ส่วนนี้

ลดอาการปวดรูมาตอยด์ด้วยกายภาพบำบัด
การทำกายภาพบำบัดของผู้ป่วยรูมาตอยด์สามารถทำได้ที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นการประคบน้ำอุ่น ซึ่งการแช่หรืออาบน้ำอุ่น จะช่วยลดความเจ็บปวดและอาการฝืดของข้อได้ โดยผู้ป่วยอาจจะต้องใช้เวลาประคบประมาณ  15 นาที  แล้วพยายามกัดฟันขยับตามส่วนต่างๆ ของข้อที่ปวด หรือบวมอย่างช้า ๆ  ครั้งแรกของการทำกายภาพข้อจะปวดมากเวลาขยับ แต่เมื่อเคลื่อนไหวให้สุดแรงอย่างเต็มที่แล้ว (อย่างการกำมือและเหยียดเต็มที่)ประมาณ 3-5 ครั้ง ความฝืดและความเจ็บปวดจะค่อย ๆ ลดลง  ซึ่งผู้ป่วยควรพยายามขยับตามข้ออย่างช้า ๆ ท่าละ 10 ครั้ง แล้วทำซ้ำใหม่ทุก  1-2 ชั่วโมง จะช่วยลดอาการเจ็บปวดทรมานในระยะยาวได้ดี

การฝึกท่ากายบริหารหรือกายภาพบำบัดของผู้ป่วยรูมาตอยด์นี้ ควรเริ่มทำภายหลังจากเริ่มกินยาแอสไพรินไปแล้ว ประ มาณ 1 สัปดาห์ หากเกิดอาการปวดมากเกินไปก็อย่าเพิ่งหักโหม แต่ให้ค่อยๆ ขยับตามข้อต่างๆไว้ก่อน พยายามทำเฉพาะท่าที่พอทำได้ พยายามอาบน้ำอุ่นจัด ๆ ในตอนเช้า จะทำให้ทุเลาความฝืดและเจ็บปวดได้มาก   

มีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคนอนไม่หลับอยู่มาก มีสาเหตุมาจากอะไรมาดูกันครับ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดสาเหตุของโรคนอนไม่หลับ
ปัจจัยทางด้านร่างกายของบางคนอาจมีอาการเจ็บป่วยของโรค  หรือทำให้เกิดอาการเจ็บปวดตามอวัยวะต่าง ๆ และอาจส่งผลทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับหรือเกิดโรคแทรกซ้อนได้แบบไม่น่าสงสัย ไม่ว่าจะเป็น โรคกระเพาะอาหาร ไมเกรน หรือบาดแผลจากการได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ฯลฯ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคนอนไม่หลับอยู่มาก มีสาเหตุมาจากอะไรมาดูกันครับ

1.โรคการหายใจที่ผิดปกติขณะหลับ 
โรคการหายใจที่ผิดปกติขณะนอนหลับ หรือ (Sleep Related Breathing Disorders) ที่เราเรียกกันว่าการกรนขณะนอนหลับ เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่มีผลต่ออาการนอนไม่หลับ ซึ่งผู้ที่เป็นโรคนี้จะหยุดหายใจในช่วงเวลาสั้น ๆ  ทำให้จะต้องตื่นขึ้นมาเรื่อย ๆ ขณะนอนหลับ เป็นความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดการกระตุกและการเกร็งและ อาจทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับเพราะต้องตื่นขึ้นกลางดึก หรือนอนหลับไม่สนิท 

2.การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
การนอนไม่หลับบางครั้งยังอาจเกิดกับหญิงที่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์ ซึ่งการนอนไม่หลับส่วนใหญ่เกิดจากฮอร์โมนและสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ปกติเมื่อร่างกายเจริญเติบโตตามช่วงวัยและมีอายุเพิ่มมากขึ้น อาจทำให้การนอนหลับพักผ่อนลดน้อยลง เพราะร่างกายจะผลิตสารเซโรโทนิน (ฮอร์โมนที่ช่วยให้นอนหลับมีการลดลง) ทำให้พบปัญหาการนอนไม่หลับในช่วงวัยกลางคนก่อนเข้าสู่วัยชรา รวมทั้งวัยชราด้วย

3.ปัจจัยทางด้านจิตใจส่งผลทำให้นอนไม่หลับ
 มีความเครียด หรือวิตกกังวลรวมทั้งอาการซึมเศร้า หดหู่ ดีใจ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นต่อจิตใจ รวมทั้งอาการตื่นเต้นประหม่า ที่จะได้ทำกิจกรรม หรือทำอะไรบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นกรสอบ การแข่งขัน การนัดเดทครั้งแรก ฯลฯ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจกลายเป็นความเครียด จนอาจทำให้นอนไม่หลับเพราะเกิดความกังวลกับเรื่องที่จะเกิดขึ้นนั่นเอง

ปัจจัยทั่วๆ ไปที่ทำให้นอนไม่หลับ
ด้วยสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม อย่างการส่งเสียงดังเมื่อคุณอยู่ในเขตก่อสร้าง หรือชุมชนที่เป็นห้องเช่าติดกัน เสียงต่างๆ เหล่านั้นอาจมารบกวนประสาทสัมผัสในขณะนอนหลับ แม้แต่เสียงดนตรี เสียงเพลงงานวัด หรือแม้แต่แสงที่สว่างจ้า และการรับรู้กลิ่นต่าง ๆ  ที่มีมากมายจนรบกวนสภาวะผ่อนคลายของการนอนหลับ ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับหรือนอนได้น้อย หรือหลับๆ ตื่นๆ  อีกทั้งการรักษาบาดแผลมีผลเพราะผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวดจนนอนไม่หลับ  อย่างการคีโมในผู้ป่วยมะเร็ง  หรือความเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด ฯลฯ  

นอกจากสาเหตุดังกล่าว อาการนอนไม่หลับอาจเกิดจากนิสัยเฉพาะตัว อย่างการนอนผิดเวลา ,การทำงานเป็นกะ การนอนผิดที่ผิดกลิ่น   การกินอาหารที่มากเกินไปก่อนนอน , การดื่มและใช้สารเสพติด  ซึ่งอาจทำให้นอนไม่หลับหรือตื่นขึ้นมากลางดึกได้

โรคเกล็ดเลือดต่ำ หากตรวจพบว่าเป็นแล้วได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดอาการ

โรคเกล็ดเลือดต่ำ...หาทางป้องกันยาก...แต่รักษาได้นะ!!

โรคเกล็ดเลือดต่ำ หากตรวจพบว่าเป็นแล้วได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดอาการก็จะทำให้ปลอดภัยและหายขาดได้ แต่หากปล่อยไว้ อันตรายสุดๆ โดยเฉพาะเด็กๆ หรือผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่องซึ่งหากได้เรียนรู้เกี่ยวกับโรคเกล็ดเลือดต่ำ จะช่วยให้คุณ เข้าใจ และรับมือได้ถูกต้อง   ยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับโรคเกร็ดเลือดต่ำว่ามีสาเหตุมาจากอะไร  ซึ่ง โรคเกล็ดเลือดต่ำ ( ITP immune thrombocytopenic purpura) เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเกิดการต่อต้านเกล็ดเลือดที่อยู่ในกระแสเลือดของตัวเอง

ภาวะของการเกิดเกล็ดเลือดต่ำ
แพทย์ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรคเกล็ดเลือดต่ำ แต่มีข้อสันนิษฐานว่าผู้ที่เป็นอาจได้รับเชื้อไวรัสบางชนิด แล้วร่างกายมีภาวะภูมิคุ้มกันโดยการสร้างแอนตี้บอดี้ไปทำลาย แต่แอนตี้บอดี้อาจหลงเหลืออยู่ในกระแสเลือด จึงเกิดการทำลายเกล็ดเลือดของผู้ป่วยเอง ในขณะเดียวกันเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวยังคงทำงานปกติ ซึ่งโรคเกล็ดเลือดต่ำ สามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่จะพบบ่อยในเด็กอายุ 2-6 ขวบ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง สำหรับเด็กทีเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำ แม้จะสามารถสร้างภูมิต้านทานได้แล้ว แต่ก็ทำให้อาจได้รับไวรัสบางชนิดหรือแม้แต่การหยิบจับสิ่งของ หากพบในเด็กที่อายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ทำให้มีโอกาสเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำชนิดเรื้อรัง( CHRONIC ITP) ได้สูงขึ้น

อาการที่เห็นได้ชัดของโรคเกล็ดเลือดต่ำ
ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ในภาวะปกติระดับเกล็ดเลือดจะต้องอยู่ที่ 150,000 – 400,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร  ซึ่งเกล็ดเลือดจะมีหน้าที่ช่วยห้ามเลือดที่เกิดจากบาดแผล และจะทำการจับตัวกันเป็นก้อนที่ผนังของหลอดเลือด เพื่อทำการหยุดการไหลของเลือด  อาการของโรคเกล็ดเลือดต่ำจะเห็นได้ว่ามีรอยฟกช้ำ จ้ำเลือด ในบริเวณที่ไม่น่าจะเกิดการกระทบหรือกระแทกง่ายอย่างบริเวณลำตัว หน้าท้อง หรือหลัง โดยใช้เวลานานเป็นสัปดาห์กว่าจะหาย หรือหากมีการชนหรือกระแทก อาการเขียวช้ำอาจจะนานมากที่รอยจะจางลง และมากกว่าที่ควรจะเป็น  บางคนมีเลือดกำเดาไหลนาน และไม่หยุดทั้งๆ ที่กดห้ามเลือดอย่างถูกวิธีแล้ว

การรักษาโรคเกล็ดเลือดต่ำ ขึ้นอยู่กับระดับของเกล็ดเลือดอาจสังเกตอาการ ไม่ให้เกิดการกระทบกระแทก และหลีกเลี่ยงการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดบาดแผลที่ทำให้เลือดออก แต่หากเกล็ดเลือดมีระดับต่ำมาก ไม่ถึง 20,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร จำเป็นต้องได้รับการรักษาเนื่อง ซึ่งแพทย์จะรักษาด้วยการให้ยาสำหรับยับยั้งการทำลายเกล็ดเลือด IVIG ซึ่งเป็นวิธีรักษามาตรฐานที่ได้ผลวิธีหนึ่ง   


สถานะ : Public

บางคนอาจมีความวิตกกังวลหรือไม่มั่นใจในการดูแลตนเองหลังแพทย์ตรวจพบว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน

หลังแพทย์ตรวจพบว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน..ควรปฏิบัติตัวอย่างไร??

บางคนอาจมีความวิตกกังวลหรือไม่มั่นใจในการดูแลตนเองหลังแพทย์ตรวจพบว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน ผู้ป่วยจะต้องกินยาให้ครบถ้วนและต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์ โดยกินยาต้านกรด 1 สัปดาห์ แต่หากยังไม่ทุเลาดี หรือโรคกำเริบซ้ำหลังหยุดยาก็ให้พบแพทย์ทันที

การสังเกตอาการและข้อพึงระวังภาวะกรดไหลย้อน
ผู้ที่อยู่ในภาวะกรดไหลย้อนลองสังเกตว่าบริโภคสิ่งใดไปบ้างที่ทำให้อาการกำเริบ แล้วพยายามหลีกเลี่ยงทันที ไม่ว่าจะเป็น อาหารมันๆ อย่างของทอดๆ  ที่อมน้ำมัน หรือข้าวผัด   อาหารเผ็ดจัด หัวหอม กระเทียม แอลกอฮอล์ บุหรี่ เครื่องดื่มผสมกาเฟอีน น้ำอัดลม ชา กาแฟ หรือน้ำผลไม้เปรี้ยว ผลไม้เปรี้ยว ซอสมะเขือเทศ ฯลฯ และควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารปริมาณมาก (หรืออิ่มจัด) และหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำมากๆ ระหว่างมืออาหาร และที่สำคัญอาหารมื้อเย็นควรรับประทานในปริมาณที่น้อย และทิ้งช่วงห่างก่อนเวลาเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง

การดูแลตัวเองหลังเกิดอาการกรดไหลย้อน
เมื่ออยู่ในภาวะกรดไหลย้อน หลังกินอาหารควรปลดเข็มขัดและตะขอกางเกงให้หลวมที่สุด ควรนั่งตัวตรง และไม่ควรนอนราบหรือนั่งงอตัว โค้งตัวลงต่ำ หรือจะยืนให้รู้สึกสบายท้อง หลีกเลี่ยงการยกของหนักและการออกกำลังกายหลังอาหารใหม่ๆ  แต่ให้หมั่นออกกำลังกายและผ่อนคลายความเครียดในช่วงเย็นๆ หรือตอนเช้าเพราะความเครียดมีส่วนทำให้หลั่งกรดมากขึ้น ทำให้อาการกำเริบได้ และหากมีอาการกำเริบของโรคกรดไหลย้อนตอนเข้านอน หรือตื่นนอนตอนเช้า ซึ่งอาจจะมีอาการเจ็บคอ เสียงแหบ เจ็บลิ้น ไอ ควรหนุนศีรษะสูง 6-10 นิ้ว และให้หนุนขาเตียงด้านศีรษะให้สูง  โดยให้เตียงหรือลำตัวเอียงลาดจากศีรษะลงมาถึงระดับเอว หรือหากสามารถใช้เตียงที่มีกลไกปรับหัวเตียงให้สูงได้ ก็จะดีไม่น้อย แต่ไม่แนะนำให้ใช้วิธีหนุนหมอนหลายใบให้สูง เพราะอาจทำให้ท้องโค้งงอได้ส่งผลทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น และดันให้น้ำย่อยไหลย้อนได้

การรักษาผู้มีภาวะกรดไหลย้อนแพทย์จะให้การรักษาด้วยการแนะนำ และให้ยารักษาซึ่งอาจเป็นขนานใดขนานหนึ่ง  ซึ่งอาจจะเป็นยาต้านกรดชนิดน้ำและยาลดการสร้างกรดอย่างแรง  ซึ่งครั้งแรกที่เริ่มให้การรักษาภาวะกรดไหลย้อนจะให้ยาติดต่อกันนาน 4-8 สัปดาห์ หรือ 3-6เดือนในรายที่เป็นมาก และหลังการรักษาผู้ป่วยกรดไหลย้อนจะต้องปฏิบัติตัวในการป้องกันไม่ให้โรคกำเริบอย่างเคร่งครัด ก็จะสามารถทำให้ปลอดจากอาการและภาวะแทรกซ้อนได้