Monday, January 30, 2017

หากพูดถึงโรคเกล็ดเลือดต่ำ..บางคนอาจจะนึกถึงตอนมีอาการเลือดกำเดาไหลออกมา

ปัจจัยในการเสี่ยงของการเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำ... มันง่ายขนาดนั้นเลยหรือ??
หากพูดถึงโรคเกล็ดเลือดต่ำ..บางคนอาจจะนึกถึงตอนมีอาการเลือดกำเดาไหลออกมา แต่คงไม่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุอะไร บ้างก็ว่าจากความร้อนจนทำให้เส้นฝอยในจมูกแตกจากอากาศที่ร้อนจัด ส่งผลทำให้เลือดออกนานเกิน 15 นาที   บางคนอาจจะมีจุดแดงๆ ขึ้นที่บริเวณผิว ซึ่งดูเผินๆคล้ายกับรอยยุงกัด  ซึ่งอาการดังกล่าวอาจเป็นการบ่งบอกว่าคุณกำลังเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำ แต่โรคนี้จะมีสาเหตุเกิดมาจากอะไร และจะมีวิธีในการป้องกันโรคได้อย่างไรกันบ้าง??

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเกล็ดเลือดต่ำ
สาเหตุของการเกิดของโรคเกล็ดเลือดต่ำอาจจะไม่ระบุเป็นที่แน่ชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดโรคเกล็ดเลือดต่ำได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นการได้รับเชื้อไวรัสบางชนิดเข้าสู่ร่างกาย และมีการฟักตัวจนเกิดเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำ หรือแม้แต่ผู้ที่อยู่ในภาวะโลหิตจาง หรือโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งทำให้จำนวนเม็ดเลือดแดงมีลดจำนวนลง ร่างกายมีการเสียเลือดมากจากการเกิดอุบัติ เหตุต่างๆ  และผู้ที่มีปัญหาเป็นโรคเกี่ยวกับเลือดต่างๆ  อย่างการมีเลือดออกแบบผิดปกติ หรือเป็นโรคซีด หรืออาจจะเกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เต็มไปด้วยมลภาวะในอากาศ แต่โรคนี้อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ ที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมาก่อน

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเกล็ดเลือดต่ำ
การได้รับสารเคมีบางอย่างจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ และการรับประทานอาหารที่มีสารเคมีปะปนอยู่ อีกทั้งผู้ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือระบบน้ำเหลืองต่างๆ ผิดปกติ และผู้ที่อยู่ในภาวะภูมิต้านทานโรคบกพร่อง หรือร่างกายอ่อนแอจนไม่สามารถต่อสู้กับโรคต่างๆ ได้ โรคเกล็ดเลือดต่ำยังเกิดขึ้นได้กับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตต่ำ  และเกิดจากเซลล์พลาสม่าที่ผิดปกติ ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างแอนติบอดี้ได้  เม็ดเลือดแดงเกิดการแตกแบบฉับพลัน  ทำให้ภาวะที่ร่างกายขาดธาตุเหล็ก และอาจมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร และผู้ที่ป่วยด้วยโรค SLE หรือโรคภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่องฯลฯ
 
วิธีการป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นจากการเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำ จะต้องหมั่นระมัดระวังตนเองจากการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อภาวะเลือดไหลไม่หยุด และหากต้องการจะทำการถอนฟัน หรือทำการรักษาโรคใดๆ ควรแจ้งแพทย์เสมอว่าตนเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำ และต้องไม่ออกกำลังกายที่เสี่ยงต่อภาวะของการเกิดการกระแทกที่จะทำให้เลือดออกได้ง่าย ซึ่งอาจเปลี่ยนกิจกรรมไปเป็นการว่ายน้ำแทน ที่สำคัญควรรับประทานยาหรือปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ผู้ทำการรักษาอย่างเคร่งครัด

No comments:

Post a Comment