Wednesday, January 4, 2017

หนึ่งในจำนวนหลายโรคที่เกิดได้ในวัยชรานั่นก็คือ "โรคพาร์กินสัน"

9  สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสันในผู้สูงอายุ

ร่างกายคนเรานั้นเมื่อเข้าสู่วัยชราก็เป็นธรรมดาที่โรคภัยไข้เจ็บจะมาเยือนอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก และหนึ่งในจำนวนหลายโรคที่เกิดได้ในวัยชรานั่นก็คือ "โรคพาร์กินสัน" ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางส่งผลให้เกิดอาการสั่น เกร็ง และเคลื่อนไหวช้าซึ่งมีสาเหตุดังนี้

สาเหตุสำคัญของการเกิดโรคพาร์กินสัน
1.  ความชราภาพของสมอง จึงมีผลทำให้เซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีนมีจำนวนลดลง โดยจะพบบ่อยที่สุดและพบมากในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และพบได้ทั้งเพศชายและหญิง

2. ยากล่อมประสาท  หรือยานอนหลับที่ออกฤทธิ์กดหรือต้านการสร้างสารโดปามีน แต่ปัจจุบันยากลุ่มนี้ลดความนิยมในการใช้ลง แต่ปลอดภัยสูงกว่าและไม่มีผลต่อการเกิดโรคพาร์กินสัน
          
 3. ยาลดความดันโลหิตสูง   แต่ในระยะหลัง ๆ ยาควบคุมความดันโลหิตส่วนใหญ่จะมีฤทธิ์นอกระบบประสาทส่วนกลาง แต่มีผลทำให้ขยายหลอดเลือดส่วนปลาย จึงไม่ส่งต่อสมองที่จะทำให้เกิดโรคพาร์กินสันต่อไป

4.  หลอดเลือดในสมองอุดตัน ทำให้เซลล์สมองที่สร้างโดปามีนมีจำนวนลดน้อยลง หรือหมดไป

5.  สารพิษทำลายสมอง ได้แก่ พิษจากสารคาร์บอนมอนนอกไซด์  สารแมงกานีสในโรงงานถ่านไฟฉาย

6.  สมองขาดออกซิเจน ในกรณีที่ถูกบีบคอ   จมน้ำ เกิดการอุดตันในทางเดินหายใจ เป็นต้น

7.  ศีรษะถูกกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ

8.  การอักเสบของสมอง

9.  โรคทางพันธุกรรม เช่น โรควิลสัน ซึ่งเกิดจากการที่มีอาการของโรคตับพิการร่วมกับโรคสมอง

โดยทั่วไปผู้ที่เป็น โรคพาร์กินสัน อาการจะแสดงออกมากน้อยแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ด้าน เช่น อายุ ระยะเวลาการเป็นโรค และภาวะแทรกซ้อนที่ตามมา

No comments:

Post a Comment