Monday, January 30, 2017

โรครูมาตอยด์ เป็นหนึ่งในโรคที่เกี่ยวข้องกับข้อเสื่อม ซึ่งเป็นโรคที่การเจริญของเยื่อบุข้อ

โรครูมาตอยด์ ...ร้ายแรงแค่ไหน...รักษาอย่างไรให้ขาด

โรครูมาตอยด์ เป็นหนึ่งในโรคที่เกี่ยวข้องกับข้อเสื่อม ซึ่งเป็นโรคที่การเจริญของเยื่อบุข้อมากผิดปกติจนทำให้เกิดการลุกลามและทำลายกระดูก ส่งผลทำให้ตามข้อต่างๆ เสียหายพบบ่อยมากเป็นลำดับที่ 2  ของโรคข้อเสื่อม ว่ากันว่าอาการระยะแรกของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีความทุกข์ทรมานจากข้ออักเสบหลายๆ ข้อพร้อมกัน หากเป็นโรครูมาตอยด์ แล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี จะทำให้ข้อเคลื่อนที่ผิดรูปจนส่งผลทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพขึ้น  ซึ่งหลายๆ คนยังไม่ทราบว่าโรครูมาตอยด์นั้น ร้ายแรงแค่ไหน เมื่อเป็นแล้วจะสามารถทำการรักษาให้หายขาดได้หรือไม่มาดูวิธีกันครับ  

1.โรครูมาตอยด์ รักษาด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยา
การรักษาโรครูมาตอยด์แบบที่ไม่ต้องใช้ยาคือ การปฏิบัติตัวด้วยการใช้วิธีการทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู  ส่วนหนึ่งคือการบริหารร่างกายเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อคงและ/เพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อ อีกทั้งการใช้กายอุปกรณ์และอุปกรณ์เสริม  ที่จะสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดและส่งเสริมให้ข้อสามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่

2.โรครูมาตอยด์ รักษาด้วยยา
ยาที่ใช้ในการรักษาโรครูมาตอยด์ ประกอบไปด้วยยาบรรเทาอาการปวด ซึ่งเป็นยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์  เป็นยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ขนาดต่ำ  หรือยาต้านข้ออักเสบรูมาตอยด์ เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนการดำเนินโรคและสารชีวภาพ  โดย แพทย์มีจุดมุ่งหมายในการควบคุมโรคให้สงบ ด้วยการใช้ยาเหล่านี้ร่วมกัน ซึ่งจะทำให้ไม่มีข้ออักเสบหลงเหลืออยู่  หรือมีภาวะข้ออักเสบระดับต่ำเกือบสงบ ก่อนพิจารณาเลือกใช้ยาดังกล่าว แพทย์จะทำการประเมินสุขภาพร่างกายโดยรวมของผู้ป่วย และเลือกตามความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย

3.โรครูมาตอยด์ รักษาด้วยการผ่าตัด
กรผ่าตัดเมื่อเป็นโรครูมาตอยด์ แพย์จะทำการพิจารณาในรายที่ข้อถูกทำลายอย่างมาก ส่งผลทำให้ข้อมีการผิดรูปมากเกินไป ทำให้ไม่สามารถใช้ข้อทำงานได้อย่างปกติ  การผ่าตัดอาจเป็นทางเลือกสุดท้าย เพื่อให้ข้อสามารถกลับมาทำงานใหม่ได้อย่างเหมาะสม  ควรการทำกายภาพบำบัดหลังการผ่าตัดร่วมด้วย

หากอาการ โรค รูมาตอยด์ รุนแรงมากขึ้น ควรรีบไปรับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้รวดเร็วมากที่สุด เพื่อเป็นการควบคุมดูแลไม่ให้โรครูมาตอยด์  ลุกลามมากขึ้นกว่าเดิม


เชื่อว่าคนที่กังวลเรื่องโรคนอนไม่หลับอาจจะกำลังหาทางออกเพื่อทำให้ตัวเองได้นอนหลับยาวนานขึ้น

ปัญหาภัยเงียบของคนนอนไม่หลับ...บำบัดทางจิตแก้ไขได้ไหมนะ??

เพราะความเครียดของการทำงาน การเดินทางในแต่ละวันที่อาจจะทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยมากมาย กับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะคนเมืองที่จะต้องสู้กับปัญหามลภาวะต่างๆ และผู้คนอีกมากมาย ซึ่งอาจจะมีส่วนทำให้กลับบ้านไปแล้วรู้สึกเครียดๆ ส่งผลทำให้เกิดปัญหานอนหลับแบบไม่สบายตัว หรือหลับๆ ตื่นๆ ทำให้เกิดความกังวล จนทำให้คุณต้องตื่นก่อนเวลา หรือตื่นกลางดึกครั้นจะนอนต่อก็ทำให้นอนไม่หลับ ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่แท้จริงแล้วมันอาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าคุณกำลังเผชิญกับภาวะจิตใจอันหดหู่ ส่วนวิธีแก้โรคนอนไม่หลับนั้น  จะต้องทำอย่างไรบ้างนะ??

สาเหตุบางประการของอาการนอนไม่หลับ
เชื่อว่าคนที่กังวลเรื่องโรคนอนไม่หลับอาจจะกำลังหาทางออกเพื่อทำให้ตัวเองได้นอนหลับยาวนานขึ้น การจะทำให้ตัวเองได้นอนหลับสบายๆ อาจจะยากสักนิด ซึ่งความเครียดอาจเป็นสาเหตุของการนอนไม่หลับที่อาจจะพาไปสู่การคิดสั้นไปจนถึงการฆ่าตัวตาย บางคนถึงกับขนาดต้องกินยานอนหลับ แต่หากกินมากเกินไปก็อาจส่งผลต่อร่างกายหรือชีวิตได้ด้วยโรคหัวใจวายแบบเฉียบพลัน หากล้างท้องไม่ทันก็คงจะไม่รอด เพราะความจริงการนอนไม่หลับเป็นอาการอย่างหนึ่งที่ทำให้ร่างกายเกิดความทรมาน  ยิ่งใครที่ประสบปัญหาต่างๆ มากมายทั้งความเครียด ที่บ้าน ที่ทำงาน หรือมีปัญหาครอบครัว ฯลฯ  ก็จะยิ่งทำให้เกิดการคิดมากจนกลายเป็นความเครียดส่งผลทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับขึ้นมา 

บำบัดทางจิตวิธีแก้ปัญหาโรคนอนไม่หลับ
เพราะการกินยาเพื่อให้คนที่นอนไม่หลับ ได้หลับปุ๋ยยาวนานและไม่ต้องตื่นกลางดึก แม้จะช่วยเรื่องให้นอนหลับได้ แต่ก็เพียงแค่ชั่วครู่หรือข้ามคืนเท่านั้น หากแต่ยานอนหลับไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาความเครียดได้  การใช้ยานอนหลับจึงเป็นวิธีแก้ปัญหาได้บ้างบางครั้ง แต่ควรอยู่ในความดูแลจากแพทย์ ไม่ควรหาซื้อยากินเอง ไม่ควรกินยานอนหลับเกินขนาน ซึ่งวิธีแก้อาการนอนไม่หลับ ปัจจุบันจากการใช้การบำบัดทางจิต ด้วยการพูดคุยเพื่อให้เกิดการผ่อนคลาย ราวกับว่าทำให้ผู้ป่วยได้ทำการระบายปมที่อยู่ภายในใจออกมาให้หมดตั้งแต่จำความได้  แบบไม่ต้องแบกความทุกข์เก็บไว้คนเดียว


วิธีแก้อาการนอนไม่หลับวิธีบำบัดทางจิตนี้ถือว่าได้ผลในระดับหนึ่ง  บางคนนอนไม่หลับตืดต่อกันหลายคืน  ส่วนใหญ่มักเกิดจากผู้ที่มีความเครียด หรือในกลุ่มผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ที่เคยทำงานประจำกลางคืนที่อาจจะ เกิดความเคยชิน  สำหรับการรักษาทางจิตใจ หรือ การทำพฤติกรรมบำบัดซึ่งเป็นวิธีแก้โรคนอนไม่หลับอย่างหนึ่งที่นิยมทำกันมาก   

หากพูดถึงโรคเกล็ดเลือดต่ำ..บางคนอาจจะนึกถึงตอนมีอาการเลือดกำเดาไหลออกมา

ปัจจัยในการเสี่ยงของการเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำ... มันง่ายขนาดนั้นเลยหรือ??
หากพูดถึงโรคเกล็ดเลือดต่ำ..บางคนอาจจะนึกถึงตอนมีอาการเลือดกำเดาไหลออกมา แต่คงไม่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุอะไร บ้างก็ว่าจากความร้อนจนทำให้เส้นฝอยในจมูกแตกจากอากาศที่ร้อนจัด ส่งผลทำให้เลือดออกนานเกิน 15 นาที   บางคนอาจจะมีจุดแดงๆ ขึ้นที่บริเวณผิว ซึ่งดูเผินๆคล้ายกับรอยยุงกัด  ซึ่งอาการดังกล่าวอาจเป็นการบ่งบอกว่าคุณกำลังเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำ แต่โรคนี้จะมีสาเหตุเกิดมาจากอะไร และจะมีวิธีในการป้องกันโรคได้อย่างไรกันบ้าง??

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเกล็ดเลือดต่ำ
สาเหตุของการเกิดของโรคเกล็ดเลือดต่ำอาจจะไม่ระบุเป็นที่แน่ชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดโรคเกล็ดเลือดต่ำได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นการได้รับเชื้อไวรัสบางชนิดเข้าสู่ร่างกาย และมีการฟักตัวจนเกิดเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำ หรือแม้แต่ผู้ที่อยู่ในภาวะโลหิตจาง หรือโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งทำให้จำนวนเม็ดเลือดแดงมีลดจำนวนลง ร่างกายมีการเสียเลือดมากจากการเกิดอุบัติ เหตุต่างๆ  และผู้ที่มีปัญหาเป็นโรคเกี่ยวกับเลือดต่างๆ  อย่างการมีเลือดออกแบบผิดปกติ หรือเป็นโรคซีด หรืออาจจะเกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เต็มไปด้วยมลภาวะในอากาศ แต่โรคนี้อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ ที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมาก่อน

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเกล็ดเลือดต่ำ
การได้รับสารเคมีบางอย่างจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ และการรับประทานอาหารที่มีสารเคมีปะปนอยู่ อีกทั้งผู้ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือระบบน้ำเหลืองต่างๆ ผิดปกติ และผู้ที่อยู่ในภาวะภูมิต้านทานโรคบกพร่อง หรือร่างกายอ่อนแอจนไม่สามารถต่อสู้กับโรคต่างๆ ได้ โรคเกล็ดเลือดต่ำยังเกิดขึ้นได้กับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตต่ำ  และเกิดจากเซลล์พลาสม่าที่ผิดปกติ ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างแอนติบอดี้ได้  เม็ดเลือดแดงเกิดการแตกแบบฉับพลัน  ทำให้ภาวะที่ร่างกายขาดธาตุเหล็ก และอาจมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร และผู้ที่ป่วยด้วยโรค SLE หรือโรคภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่องฯลฯ
 
วิธีการป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นจากการเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำ จะต้องหมั่นระมัดระวังตนเองจากการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อภาวะเลือดไหลไม่หยุด และหากต้องการจะทำการถอนฟัน หรือทำการรักษาโรคใดๆ ควรแจ้งแพทย์เสมอว่าตนเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำ และต้องไม่ออกกำลังกายที่เสี่ยงต่อภาวะของการเกิดการกระแทกที่จะทำให้เลือดออกได้ง่าย ซึ่งอาจเปลี่ยนกิจกรรมไปเป็นการว่ายน้ำแทน ที่สำคัญควรรับประทานยาหรือปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ผู้ทำการรักษาอย่างเคร่งครัด

โรคกรดไหลย้อน เป็นภาวะที่มีน้ำย่อยในกระเพาะอาหารซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดอย่าง

เคยเป็นมั้ย?? กับภาวะของการเกิดโรคกรดไหลย้อน
โรคกรดไหลย้อน เป็นภาวะที่มีน้ำย่อยในกระเพาะอาหารซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดอย่าง กรดเกลือและกรดไฮโดรคลอลิก ที่ทำการไหลย้อนขึ้นไประคายต่อหลอดอาหาร และในส่วนของบริเวณลำคอ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการแสบลิ้นปี่ ซึ่งอาการจะคล้ายเป็นโรคกระเพาะเรื้อรัง ทำให้ต้องคอยกินยาโรคกระเพาะบรรเทาไปเรื่อยๆกรดไหลย้อน พบได้บ่อย โดยเฉพาะในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป  

สาเหตุของผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน
โรคน้ำย่อยไหลกลับ  โรคกรดไหลย้อน  หรือโรคเกิร์ด Gastroesophageal reflux disease, ( GERD)  ซึ่งก็เป็นโรคเดียวกันเพราะเป็นเรื่องของความผิดปกติของการทำหน้าที่ของกล้ามเนื้อ หรือหูรูดที่อยู่ตรงส่วนล่างของหลอดอาหาร  เพราะคนปกติขณะกลืนอาหารหูรูดนี้จะคลายตัวเพื่อเป็นการเปิดทางให้อาหารไหลผ่านลงไปในกระเพาะอาหารได้ แต่เมื่ออาหารผ่านลงกระเพาะอาหารจนหมดแล้ว หูรูดจะทำการหดรัดเพื่อปิดกั้นไม่ให้น้ำย่อยซึ่งเป็นกรดเกลือ ที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหารได้

การทำงานผิดปกติของหูรูดส่งผลทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อน
ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน ในส่วนของกล้ามเนื้อหูรูดตรงส่วนล่างของหลอดอาหาร จะมีความหย่อนสมรรถภาพ ทำให้มีน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหารได้มากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการผิดปกติ และการอักเสบของเยื่อบุหลอดอาหารได้(คนทั่วไปหลังกินข้าวอาจมีน้ำย่อยไหลย้อนได้ 1-4 ครั้ง แต่จะไม่ทำให้เกิดอาการ)  สำหรับสาเหตุที่ทำให้หูรูดทำงานผิดปกติยังไม่ทราบแน่ชัด  แต่อาจเกิดจากความเสื่อมตามอายุ (เพราะโรคนี้มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปี) หรือหูรูดยังเจริญไม่เต็มที่ (ซึ่งจะพบในทารก) หรือมีความผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด


พบว่าโรคกรดไหลย้อน นี้มีความสัมพันธ์กับความอ้วน ภาวะตั้งครรภ์ หรือแม้แต่โรคเบาหวาน และโรคไส้เลื่อนกะบังลม   ซึ่งมีกระเพาะอาหารบางส่วนไหลเลื่อนลงไปที่กะบังลม  โดยมีปัจจัยกระตุ้น ให้โรคกำเริบ คือการกินอิ่มมากไป อาจกินอาหารมื้อใหญ่หรือปริมาณมาก ทำให้เกิดการกระตุ้นให้มีน้ำย่อยหลั่งออกมามาก  และการขยายตัวของกระเพาะอาหารทำให้หูรูดคลายตัวมากขึ้น  การรัดเข็มขัดแน่น หรือใส่กางเกงคับเอว จะเป็นการเพิ่มแรงดันในกระเพาะอาหารทำให้น้ำย่อยไหลย้อนได้