Monday, October 24, 2016

เทคนิคการเตรียมตัวเตรียมใจเมื่อจะเข้ารับการตรวจเลือด

เทคนิคการเตรียมตัวเตรียมใจเมื่อจะเข้ารับการตรวจเลือด
ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บทุกวันนี้ หลายโรคที่แพทย์เราสามารถวินิจฉัยได้จากอาการและการตรวจร่างกาย แต่ก็มีอีกหลายโรคที่ไม่สามารถวินิจฉัยได้ทันที หรือการรออาการที่ชัดเจนอาจจะไม่ทันการในการรักษา ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันได้มีการพัฒนาการตรวจทางห้องปฏิบัติการมาเป็นส่วนสนับสนุนทางการแพทย์  เช่น  การตรวจเลือด  เพื่อให้ได้ข้อมูลมาให้แพทย์ได้ประกอบการวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็วมากขึ้น ส่งผลให้การรักษามีประสิทธิภาพ   
การเตรียมตัวก่อนตรวจเลือด
ก่อนเข้ารับการตรวจเลือดต้องพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หักโหมจนเกินไป งดดื่มสุรา งดยาบางชนิด แต่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ  ยกเว้นในการตรวจเลือดเพื่อหาปริมาณน้ำตาลและไขมันในเลือดควรงดอาหารนาน 8–12 ชั่วโมงก่อนเจาะเลือด 
(แต่ดื่มน้ำเปล่าได้) 
เลือดที่ถูกเจาะไปตรวจนั้นตรวจอะไรได้บ้าง
1.  ตรวจนับเม็ดเลือด
2.  ตรวจสมรรถภาพของตับ 
3.  ตรวจสมรรถภาพของไต 
4.  ตรวจระดับไขมันในเลือด 
5.  ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด 
6.  ตรวจหาปริมาณฮอร์โมน 
7.  ตรวจหาโรคติดเชื้อทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส
8.  ตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคออโตอิมมูน
นอกจากนี้ยังมีการตรวจพิเศษอีกหลายชนิดซึ่งแพทย์ผู้รักษาจะเป็นผู้พิจารณาส่งตรวจตามความเหมาะสม
http://www.sigma-laboratory.com/
ทั้งนี้แล้วสตรีขณะที่กำลังมีประจำเดือน ไม่ควรตรวจเลือด   ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อความแม่นยำของผลการตรวจที่ได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับการวินิจฉัยเพื่อวางแผนการรักษาต่อไปเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ปัญหาเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บในทุกวันนี้ มีหลายโรคไม่สามารถวินิจฉัยได้ในทันที  จึงจำเป็นต้องมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือดและนำผลที่ได้มาประกอบการวินิจฉัยเพื่อวางแผนในการรักษาต่อไป

สรรหาวิธีในการกำจัดขนถาวร เมื่อเส้นขนในบางจุดสร้างความหนักใจให้กับผู้เป็นเจ้าของ

อวัยวะทุกส่วนที่อยู่ในร่างกายต่างมีหน้าที่และมีประโยชน์ที่แตกต่างกันไปแม้แต่ เส้นขน”  ที่มองเห็นอยู่ตามจุดต่างๆ บนร่างกายส้นขนเล็ก ๆ เหล่านี้มีประโยชน์ต่อร่างกายแต่หลายคนก็ยังไม่รู้เลยว่ามันมีประโยชน์อย่างไรบ้างจึงสรรหาวิธีในการกำจัดขนถาวร
เมื่อเส้นขนในบางจุดสร้างความหนักใจให้กับผู้เป็นเจ้าของจึงมีวิธีที่ถูกนำมาใช้ในการกำจัดขนถาวรเหล่านั้นให้ออกไปจากชีวิต  ซึ่งมีด้วยกัน  3  วิธี ดังนี้

1.  การถอนขน 
เป็นวิธีที่มักใช้กับเส้นขนบริเวณรักแร้เป็นส่วนใหญ่โดยใช้แหนบถอนออก  วิธีนี้จะกำจัดขนได้ถึงรากแต่ค่อนข้างเจ็บ  ส่งผลให้ผิวบริเวณที่ถอนเป็นตุ่มเหมือนหนังไก่ได้   และขนใหม่จะงอกใน 1-2 สัปดาห์ 
2.  การโกนขน 
การกำจัดขนถาวรวิธีนี้สามารถใช้ได้กับเส้นขนหลายจุด ทั้งบริเวณรักแร้  ขนแขน  ขนขา โดยอาจใช้สบู่หรือครีมโกนหนวดที่มีขายทั่วไปทาบริเวณที่ต้องการโกนก่อน  จากนั้นจึงโกนเส้นขนออก  การโกนนี้ต้องทำบ่อย ๆ เพราะเส้นขนจะงอกขึ้นมาใหม่เสมอ 

3.  การแว๊กซ์ขน
เป็นการกำจัดขนถาวรอีกวิธีที่ได้รับความนิยมมาก เพราะสามารถกำจัดขนได้ลึกถึงรากของเส้นขน  ผิวเนียนขึ้นและกำจัดขนได้แทบจะทุกจุดที่ต้องการ  โดยการใช้แว๊กซ์ทาในบริเวณที่ต้องการกำจัดขน  แล้วทิ้งไว้สักครู่จนเนื้อแว๊กซ์แข็งตัว  และดึงออกอย่างรวดเร็ว  เส้นขนจะหลุดติดมาด้วย 

วิธีการกำจัดขนถาวรดังกล่าวเป็นเพียงตัวอย่างเบื้องต้นเท่านั้น  การเลือกวิธีกำจัดขนที่เหมาะสมกับตัวเองนั้นจึงต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละคน  แต่การกำจัดขนนั้นจะส่งผลต่อสภาพของผิวหนังในบริเวณที่ทำด้วย  เช่น  อาจเกิดการอักเสบ รอยแดง  หรืออาจรุนแรงจนเกิดแผลได้ 

ในปัจจุบันนี้บุคคลทั่วไปมีความตื่นตัวและสนใจเกี่ยวกับโรคพาร์กินสันกันมากขึ้น

เผยแนวทางในการรักษาโรคพาร์กินสัน โรคที่ไม่ใช่แค่เกิดอาการสั่น
 ในปัจจุบันนี้บุคคลทั่วไปมีความตื่นตัวและสนใจเกี่ยวกับโรคพาร์กินสันกันมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่โรคที่เกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้นโรคพาร์กินสันเป็นอาการเสื่อมทางสมองเรื้อรังและจะมีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้การควบคุมการเคลื่อนไหว การพูด และการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ ในร่างกายเสื่อมลง  โดยทางสถิติน่าจะมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้ในประเทศไทย ประมาณ 40,000 - 50,000 คน ซึ่งในบางส่วนอาจยังไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง ตลอดจนยังไม่ได้รักษาอย่างถูกวิธี

แนวทางการรักษา
ในทางวงการแพทย์นั้นโรคพาร์กินสันสามารถรักษาได้หลายวิธี ทั้งจากการรับประทานยา  การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง หรือแม้แต่การผ่าตัดสอดสายเข้าลำไส้เล็ก เพื่อทำการปลดปล่อยยาอย่างสม่ำเสมอโดยใช้เครื่องปั้มยาช่วยหรือการผ่าตัดเพื่อกระตุ้นสมองส่วนลึก คาดการณ์ว่าโดยทางสถิติน่าจะมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้ในประเทศไทยประมาณหนึ่งแสนรายและเป็นประชากรผู้สูงอายุ และมีบางส่วนยังไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง ตลอดจนยังไม่ได้รักษาอย่างถูกวิธี
 
ในปัจจุบันโรคพาร์กินสันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้  ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม รวมทั้งการเปลี่ยนถ่ายของ Stem Cell หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเซลล์ตัวอ่อนหรือ วิธีล้างสารตกค้างจากร่างกาย (Chelation) เนื่องจากยังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ว่าเกิดจากอะไร แต่ในปัจจุบันนักวิจัยได้มีการตั้งสมมติฐานและทำการทดลองเพื่อหาสาเหตุของโรคนี้และหาทางหยุดยั้งการเสื่อมของเซลล์สมอง รวมทั้งทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นด้วย จึงเป็นโอกาสและความหวังของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้ 

โรคหนังแข็ง ในเด็กนั้นพบได้น้อยมากประมาณ 1 คนต่อประชากรแสนคน

เทคนิคในการดูแลตนเองเมื่อเกิดเป็นโรคหนังแข็งโดยไม่ต้องวิตก  ไม่ต้องกังวล
 โรคหนังแข็ง ในเด็กนั้นพบได้น้อยมากประมาณ 1 คนต่อประชากรแสนคน ส่วนใหญ่พบในผู้ใหญ่วัยกลางคน และจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่าโรคหนังแข็งนี้เกิดจากอะไร  แต่สามารถที่จะดูแลตนเองได้  ซึ่งมีเทคนิคการดูแลตนเองดังนี้
การดูแลตัวเองเมื่อเป็น โรคหนังแข็ง 
โรคหนังแข็ง หรือ Scleroderma เป็นโรคเรื้อรัง แต่มีส่วนหนึ่งที่อาจหายได้เอง แต่ต้องใช้เวลานาน และก็มีอีกส่วนหนึ่งที่อาการก็จะเป็นมากขึ้นและมีอาการหลาย ๆ ระบบตามมา เนื่องจากนิ้วมือจะดำคล้ำได้ง่ายเมื่อถูกความเย็น   ดังนั้นจึงมีเทคนิคในการดูแลตัวเองดังนี้
1.  หลีกเลี่ยงอากาศเย็น ต้องประคบมือให้อุ่น หรือสวมถุงมือให้มีความอุ่น ไขมันไต้ผิวหนังในคนไข้โรคหนังแข็งจะลดลงการดูแลไม่ให้ข้อติด อาจประคบอุ่นและกายบริหารข้อ โดยเฉพาะข้อนิ้ว ซึ่งอาจแข็ง ติดได้ง่าย
 2.  หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อน  เพราะจะทำให้ผิวจะแห้งและแตกง่าย หลังอาบน้ำควรทาครีมบำรุงผิว
3.  หมั่นตรวจความดันโลหิตเป็นระยะ เนื่องจากพบอาการกรดไหลย้อนได้ในโรคหนังแข็ง หลังรับประทานอาหารไม่ควรนอนทันที ควรรอให้อาหารย่อยก่อนแล้วจึงนอน และถ้ามีอาการกลืนลำบากร่วมด้วย แนะนำให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย เพื่อลดอาการท้องอืด
โรคประหลาดที่หลายคนอาจจะไม่เคยได้ยิน  ไม่เคยรู้จัก  ที่ชื่อว่าโรคหนังแข็ง เป็นโรคที่อาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ เพราะเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน  ซึ่งเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่เมื่อเป็นแล้วก็ไม่ต้องวิตกกังวลเพราะสามารถดูแลตัวเองได้ 

มื่อกล่าวถึงโรคด่างขาวคนส่วนใหญ่ก็จะนึกถึงผิวตรงส่วนที่เป็นสีขาว ๆ

เทคนิคการสังเกตบริเวณที่มักเกิดโรคด่างขาว
เมื่อกล่าวถึงโรคด่างขาวคนส่วนใหญ่ก็จะนึกถึงผิวตรงส่วนที่เป็นสีขาว ๆ ที่เกิดขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งโรคด่างขาวนี้ไม่ได้เป็นโรคที่สามารถติดต่อกันได้ ดังนั้น ควรทำความรู้จักกับโรคด่างขาวกันให้ดียิ่งขึ้นจะดีกว่า
โรคด่างขาวเกิดจากอะไร?
โรคด่างขาวเกิดจากการที่เซลล์เม็ดสีถูกทำลายโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งโรคด่างขาวนี้ไม่สามารถติดต่อกันได้ด้วยการสัมผัส แต่สามารถเป็นได้ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงวัย

บริเวณที่มักจะพบโรคด่างขาว
โรคด่างขาวสามารถพบได้บริเวณรอบปาก  รอบจมูก  รอบตา  ปลายเท้า  ปลายมือ   ข้อศอก หัวเข่า และหลัง หากอาการเป็นมากจะลามไปส่วนอื่นของร่างกายหรือเป็นทั่วร่างกายได้ ซึ่งในบางรายนั้นอาจพบเพียงซีกเดียวของร่างกาย เช่น บนหน้าผาก แก้ม ปาก ไหล่ อก ท้อง เป็นต้น

ภัยเงียบของโรคด่างขาว
เหตุที่เป็นภัยเงียบเพราะโรคด่างขาวมักไม่มีอาการเจ็บ แสบ หรือคัน มีแต่เพียงการเปลี่ยนแปลงของสีผิว ซึ่งกว่าผู้ป่วยจะพบแพทย์ ส่วนใหญ่จะรอให้สีผิวเป็นสีขาวก่อน เนื่องจากไม่มีอาการเริ่มต้นใด ๆ บ่งบอกอาการในช่วงเริ่มต้น บางรายเริ่มเป็นที่ปลายมือปลายเท้า ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เราไม่ค่อยจะสนใจดูสักเท่าไรนัก กว่าจะรู้ตัวก็ตอนที่เม็ดสีได้ถูกทำลายไปมากแล้ว ซึ่งในบางรายเห็นว่าเริ่มเป็นแต่ไม่เดือดร้อนเพราะไม่มีอาการแสดงใด ๆ  แต่เมื่อโรคเกิดลามขึ้นมา จึงคิดเริ่มรักษา จึงจะทำให้การรักษายากมากขึ้น บางรายอาจมีอาการคันนำมาก่อนที่จะเริ่มเป็นได้

หลายคนคงเคยเห็นโรคด่างขาวมาบ้าง โดยอาจจะมีเพื่อนหรือญาติที่เป็นโรคนี้ ซึ่งโรคด่างขาวไม่ใช่โรคร้ายแรง ไม่ใช่โรคติดต่อรวมถึงไม่มีอันตรายอีกด้วยแต่ก็จะมีข้อเสียบ้างก็เฉพาะในด้านความสวยงามเท่านั้น

การโกนขนรักแร้และหน้าแข้งก็อาจทำให้เกิดปัญหาทำให้ผิวหนังระคายเคืองแล้วยังอาจทำให้เกิดเป็น ขนคุด

เทคนิคการป้องกันการเกิดขนคุดและปัญหาจากการโกน

การโกนขนรักแร้และหน้าแข้งก็อาจทำให้เกิดปัญหาทำให้ผิวหนังระคายเคืองแล้วยังอาจทำให้เกิดเป็น  ขนคุด ซึ่งทำให้มีอาการเจ็บตามมา นอกจากนี้การโกนขนชิดเกินไป ก็อาจทำลายรูขุมขน หรือทำให้ขนงอกย้อนกลับและแทงลงไปในรูขุมขนด้วยหากมีขนคุดแทงเข้าไปในผิวหนังก็สามารถที่จะกำจัดมันได้โดยวิธีการต่อไปนี้

ปฏิบัติการกำจัดขน
เพื่อให้ขนอ่อนนุ่มลงให้ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำร้อน แล้วนำมาประคบบริเวณนั้นประมาณ 5 นาทีจากนั้นจึงใช้คีมหรือแหนบถอนขนค่อยๆ ดึงปลายขนออกมาจากผิวหนัง เสร็จแล้วจึงใช้กรรไกรตัดขนจมูกเล็มขนส่วนที่หงิกงอ

อุปกรณ์การโกนที่ใช้ในการโกน
หากยังมีขนคุดอยู่บ่อย ๆ บางทีการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้โกนสามารถช่วยได้ ถ้าหากยังใช้มีดโกนอยู่ ก็ลองเปลี่ยนไปใช้ที่โกนหนวดไฟฟ้า แต่ถ้าใช้เครื่องโกนหนวดไฟฟ้าอยู่แล้ว ก็เปลี่ยนมาใช้มีดโกนแทน

วิธีการโกน
ให้โกนไปในทิศทางเดียวกับที่ขนงอกขึ้นมา เช่น เมื่อโกนเครา แทนที่จะโกนขึ้นก็ให้ใช้วิธีโกนลงแทน เมื่อต้องการโกนขนหน้าแข้งหรือในจุดอื่นๆ ก็ควรใช้วิธีเดียวกัน คือโกนลงแทนที่จะโกนขึ้น แม้ว่าวิธีนี้จะทำให้ไม่สามารถโกนขนได้เกลี้ยงเกลาติดผิวหนัง แต่ก็เป็นการทำให้ไม่ตัดขนสั้นเกินไปจนงอกแทงเข้าไปในบริเวณผิวหนังได้  ไม่ควรโกนขนให้ชิดผิวหนัง เพราะจะเสี่ยงต่อการเกิดขนคุด
นอกจากนี้การทำความสะอาดบริเวณที่เกิดขนคุดเช้าและเย็นด้วยสบู่ทำความสะอาดอาจมีฤทธิ์ระคายเคืองได้ จึงควรใช้แต่พอดี โดยฟอกทำความสะอาดบริเวณที่มีขนคุดด้วยสบู่ฆ่าเชื้อเมื่ออาบน้ำ เช้า และเย็น