Sunday, August 20, 2017

โรคเก๊าท์ (Gout) พบว่าเป็นอาการผิดปกติของร่างกายที่เนื่องมาจากการกินดีอยู่ดีมากเกินไป

สาเหตุและอาการของโรคเก๊าท์ที่ควรรู้

โรคเก๊าท์ (Gout) พบว่าเป็นอาการผิดปกติของร่างกายที่เนื่องมาจากการกินดีอยู่ดีมากเกินไป และไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ซึ่งจัดว่าเป็นโรคที่อยู่จัดอยู่ในกลุ่มของโรคปวดข้อ ข้ออักเสบซึ่งเกี่ยวพันกับกรดยูริคในกระแสเลือด ส่วนใหญ่โรคเก๊าท์จะพบได้มากเป็นพิเศษในผู้ชายวัยประมาณ 40 ปีขึ้นไป และมีโอกาสเป็นมากว่าผู้หญิงเกือบ 10 เท่า เนืองจากผู้หญิงมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง ซึ่งเจ้าฮอร์โมนตัวนี้มีหน้าที่ช่วยขับกรดยูริคออกจากร่างกาย แต่โรคเก๊าท์ที่เกิดกับผู้หญิงนั้น ส่วนใหญ่จะพบได้ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนแล้ว และยังพบว่าโรคเก๊าท์สามารถถ่ายทอดกันได้ทางกรรมพันธุ์ได้เช่นกัน
สาเหตุของที่ทำให้เกิดโรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์ยังจัดว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคชราภาพหรือโรคที่เกิดจากร่างกายเสื่อมสภาพลง เนื่องจากร่างกายมีกระบวนการการขับกรดยูริคออกจากร่างกายที่ทำงานเสื่อมประสิทธิภาพลง ทำให้มีกรดยูริคในเลือดสูงขึ้น และจากการที่ร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูงอยู่เป็นเวลานาน จนเกิดการตกตะกอนและสะสมของกรดยูริคตาม ตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น ข้อ หรือระบบทางเดินปัสสาวะ จึงส่งผลให้เกิดอาการปวดบวมแดงอักเสบการบริเวณข้อต่อหรือนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะ
ส่วนสาเหตุที่ทำให้กรดยูริกในเลือดสูงก็เนื่องมาจากร่างกายมีการสร้างกรดยูริกมากกว่าปริมาณที่ขับออก ซึ่งเป็นอาการของโรคเก๊าท์นั่นเอง

อาการที่พบในผู้ป่วยโรคเก๊าท์
พบว่าผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้ออย่างรุนแรง ซึ่งจะเกิดขึ้นทันทีแบบฉับพลัน  เราอาจจะพบอาการปวดได้ในส่วนของ ข้อมือ ข้อนิ้วมือ ข้อศอก ข้อไหล่ ข้อเท้า โดยเฉพาะอาการปวดนิ้วหัวแม่เท้า ซึ่งเราพบได้บ่อย โดยข้อที่ปวดจะมีอาการบวมและเจ็บมากจนเดินไม่ไหว ผิวหนังในบริเวณนั้นจะตึง บวม แดง ร้อน ปวดมาก และเจ็บมากเมื่อถูกสัมผัส ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง การอักเสบจะถี่ขึ้น จนทำให้มีอาการปวดเรื้อรัง และอาจจะพบว่ามีปุ่มก้อนขึ้นบริเวณใกล้ข้อต่างๆ ซึ่งเกิดจากการตกผลึกของกรดยูริกใต้ผิวหนัง จนส่งผลให้ข้อเหล่านั้นผิดรูปและข้อเสียอย่างถาวรในที่สุด

โรคเก๊าท์หากว่าเป็นแล้วโอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้นั้นมีน้อย ต้องได้รับการรักษาไปตลอดชีวิต ถึงแม้ว่าโรคเก๊าท์จะเป็นโรคเรื้อรังและเจ็บปวดทรมาน แต่ถ้าหากดูแลตัวเองให้ดี ก็สามารถบรรเทาอาการและควบคุมโรคไม่ให้กำเริบได้ ทั้งนี้เพราะเป็นโรคเก๊าท์เกี่ยวข้องอาหารการกินและรวมถึงพันธุกรรมด้วย ดังนั้นวิธีที่จะช่วยได้ดีที่สุดคือ พยายามปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์สั่ง และหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดอาการกำเริบ เพียงเท่านี้คุณก็ไม่ต้องทรมานกับอาการปวดอีกต่อไป 

No comments:

Post a Comment