Monday, June 12, 2017

ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา จากการศึกษาของหน่วยไขข้ออักเสบและรูมาติสซั่มของโรงพยาบาลศิริราช

ข้อปฏิบัติที่ถูกต้องสำหรับผู้ป่วยโรครูมาตอยด์

http://rheumatoid.lnwshop.com/

ในช่วง  7 ปีที่ผ่านมา จากการศึกษาของหน่วยไขข้ออักเสบและรูมาติสซั่มของโรงพยาบาลศิริราช มีผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์มากกว่า 600 ราย  ส่วนใหญ่จะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ซึ่งอายุที่เป็นกันมากคือช่วงวัย 20-50  ปี โดยโรครูมาตอยด์ สามารถพบได้ในผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็กอายุ  4 เดือน ไปจนถึงคนแก่อายุ 80  ปีเศษเลยทีเดียว

การวินิจฉัยโรครูมาตออยด์
มีโรคต่างๆ ที่ทำให้เกิดข้ออักเสบเรื้อรังอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็น โรคลูปัส โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน โรคข้อที่เกิดในผู้ป่วยโรคต่อมไร้ท่อ  หรือโรคข้ออักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ ฯลฯ  ซึ่งแพทย์จะอาศัยข้อมูลต่างๆ เพื่อทำการวินิจฉัยแยกโรคอื่นๆ ที่เลียน แบบออกไปก่อน แล้วจึงค่อยยืนยันการวินิจฉัยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จากการเจาะเลือดส่งตรวจทางน้ำเหลือง คือ สารรูมาตอยด์และแอนติบอดี้ต่อซีซีพี  หากผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ถึงขั้นรุนแรงและเป็นมานานหลายเดือน จะเห็นได้จากการตรวจภาพรังสีมือและเท้าที่ส่วนใหญ่มักพบลักษณะการถูกทำลายของข้อซึ่งบ่งชัดว่าเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

เมื่อไหร่ที่คุณควรสงสัยว่าตัวเองเป็นโรครูมาตอยด์
ซึ่งอาการของโรคนี้จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนใหญ่อาการตะปรากฏในข้อที่เริ่มมีการอักเสบก่อนโดยเฉพาะข้อมือ ข้อนิ้วมือ ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อนิ้วเท้า และ ข้อไหล่ ข้อศอก โดยจะรู้สึกปวดทรมานและเป็นทั้งสองข้างพร้อม ๆกัน หรือในเวลาไล่เลี่ยกัน และไล่ๆ ตามไปทั่วทุกข้อของร่างกายตั้งแต่ข้อขากรรไกรสองข้าง ลงมากระดูกข้อต้นคอ ข้อกระดูกไหปลาร้า ข้อไหล่ข้อศอก ข้อนิ้วเท้า ข้อนิ้วมือ ฯลฯ  

ข้อปฏิบัติเมื่อรู้ตัวว่าเป็นโรครูมาตอยด์
ผู้ป่วยและญาติควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรครูมาตอยด์และการใช้ยาต่างๆ ที่ใช้รักษาโรคนี้  ที่สำคัญควรทราบถึงการทำกายภาพบำบัดที่ถูกต้อง เพื่อช่วยลดอาการเจ็บปวดและวิธีปฏิบัติต่อตนเองเพื่อป้องกันความพิการที่อาจจะเกิดขึ้นได้  และที่สำคัญหากมีอาการมากเกินไปผู้ป่วยไม่ควรปรับขนาดยาโดยพลการหรือซื้อยามากินเอง และไม่ต้องแบ่งปันยาของตนเองไปให้ผู้อื่น ควรเข้ารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอและปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์อย่างเคร่งครัด

หากสงสัยว่าจะเป็นหรือมีอาการลักษณะเดียวกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคตั้งแต่เนิ่นๆ เพระโรครูมาตอยด์หากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและถูกวิธีตั้งแต่ในช่วงระยะแรก อาจทำให้โรครูมาตอยด์เรื้อรังชนิดนี้เข้าสู่ภาวะสงบโดยที่ไม่เกิดความพิการหรือภาวะแทรกซ้อนตามมา


สำหรับผู้สูงอายุไม่ควรจะกำหนดว่า แต่ละวันคุณจะต้องนอนกี่ชั่วโมง และอย่าไปวิตกว่าคืนนี้คุณจะนอนไม่หลับอีก

นอนไม่หลับทำไงดี.. กินยานอนหลังบ่อยๆ มีผลต่อสุขภาพอย่างไร??

สำหรับผู้สูงอายุไม่ควรจะกำหนดว่า แต่ละวันคุณจะต้องนอนกี่ชั่วโมง และอย่าไปวิตกว่าคืนนี้คุณจะนอนไม่หลับอีก เพราะ ยิ่งคิดว่าจะนอนไม่หลับมากเท่าไหร่ สมองก็จะทำให้คุณคิดว่าคุณสั่งให้นอนไม่หลับเท่านั้น ซึ่งการนอนวันละ 8 ชั่วโมง เป็นค่าเฉลี่ยของการนอนี่เหมาะสม บางคนอาจจะนอนน้อยกว่านั้นและสูงอายุไม่จำเป็นต้องตรงเวลามากเกินไป แต่ให้ใกล้ เคียงกันกับเวลาของการนอนให้เพียงพอสักเล็กน้อยก็น่าจะดีกว่า แต่หากนอนไม่หลับหรือนอนไม่เป็นเวลา ก็จะกระทบกับการตื่นหรือการเข้านอนในวันถัด ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นวงจรการนอนไม่หลับอย่างนี้ไปเรื่อยๆ  ที่สำคัญคือ ลองค่อยๆ ปลดปล่อยความกังวลออกบ้าง

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ
ไม่ว่าจะเป็นโรคปัสสาวะบ่อย ปวดเมื่อยเนื้อเมื่อยตัว หรือไอช่วงกลางคืนจนนอนไม่ได้ เป็นสาเหตุของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่นอนไม่หลับ ส่งผลทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพต่างๆ ตามมา  อีกทั้งยังเกิดปัญหาด้านจิตใจและโรคตามมาอีกมาก  ไม่ว่าจะเป็นโรคความเครียด  อาการน้อยใจ กังวลหรือตื่นเต้น อาการหดหู่  ชอบเกิดความคาดหวัง และอาการชอบที่จะตำหนิตัวเอง  การนอนไม่หลับนอกจากนี้อาจเป็นผลข้างเคียงจากยาบางชนิด อย่างยาประเภทขยายหลอดลม หรืออาจเป็นเพราะเปลี่ยนยาใหม่ เมื่อกินยาแก้คัดจมูก หรือแม้แต่ยาลดความอ้วน ฯลฯ แต่ยังมีผู้สูงอายุบางคนที่ชอบดื่มสุรา ชา กาแฟในปริมาณมาก ช่วงใกล้เวลานอนจึงส่งผลทำให้เกิดการนอนไม่หลับขึ้น 

ยานอนหลับไม่ใช่ทางออกที่ดีของอาการนอนไม่หลับ
การนอนไม่เป็นเวลาก็มีส่วนของโรคนอนไม่หลับเช่นกัน  เมื่อผู้สูงอายุบางนอนไม่หลับบ่อยๆเข้าจนเริ่มรู้สึกว่าจะไม่มีทางแก้ไขได้แล้วอาการนอนไม่หลับที่ญาติมักจะปล่อยปละละเลย เพราะไม่ติดว่าเป็นอาการร้ายแรงทำให้ผู้ป่วยบางรายมักจะแก้ปัญหาด้วยการไปซื้อยานอนหลับมารับประทานเอง ซึ่งหากติดยานอนหลับจะทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายและทำให้อาการนอนไม่หลับยิ่งแย่ลงกว่าเดิม ซึ่งการกินยานอนหลับเป็นดาบสองคมที่อาจจะกลับมาทำลายสุขภาพได้แม้ช่วงแรกจะแก้ปัญหาช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น แต่อาจจะมีการเพิ่มขนาดไปเรื่อยๆ จนอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้
   
ส่วนมากโรคนอนไม่หลับมักพบในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป และมักได้รับความทุกข์ทรมาน  ซึ่งอาจเป็นอาการเตือนของโรคอื่นๆ ทางสมอง สมควรได้รับการตรวจพบและแก้ไข ก่อนที่จะสายเกินไป  


เกล็ดเลือดต่ำเกิดจากสาเหตุสำคัญหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุจากการสร้างจากไขกระดูกได้น้อย

สาเหตุของภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ร้ายแรงแค่ไหน???

เกล็ดเลือดต่ำเกิดจากสาเหตุสำคัญหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุจากการสร้างจากไขกระดูกได้น้อย สาเหตุจากมะเร็งเม็ดเลือดขาว  สาเหตุจากโรคมะเร็งต่อมหมวกไต และโรคมะเร็งอื่นๆ หรือแม้แต่การเกิดเกล็ดเลือดต่ำอาจมาจากการได้รับยาบางชนิดที่ไปกดการสร้างเม็ดเลือดที่ไขกระดูก อย่างยาในกลุ่มยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง ในกรณีที่มีภาวะไขกระดูกฝ่อ หรือที่เรียกว่า โลหิตจางอะพลาสติก (Aplastic anemia) ซึ่งไขกระดูกจะสร้างเม็ดเลือดทุกชนิดได้น้อยมาก รวมทั้งการสร้างเกล็ดเลือดด้วย

ภาวะที่ไขกระดูกถูกกดเบียดจากโรคมะเร็งกระจายเข้าในไขกระดูก อย่าง โรคเกล็ดเลือดถูกทำลายมากหรือโรคเอสแอลอี (SLE, Systemic lupus erythematosus)  ซึ่งโรคนี้มักจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย อย่างการเกิดผื่นบริเวณผิวหนังที่เกิดจากการแพ้แสงแดด  ผมร่วง การมีแผลในช่องปากเป็นแผล ปวดข้อ ฯลฯ นอกจากนี้มียาจำนวนมากที่อาจทำให้เกล็ดเลือดต่ำ จากภูมิต้านทานทำลายเกล็ดเลือดหรือปฏิกิริยาอิมมูน (Immune)  ซึ่งพบบ่อยในยาเฮพาริน (Heparin) ซึ่งเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดซึ่งมีการใช้บ่อยในโรคที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด

โรคที่มีการสร้างภูมิต้านทานทำลายเกล็ดเลือดอย่างเดียวโดยที่ไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ  อย่างโรค ไอทีพี (ITP, Immune thrombocytopenia  โรคนี้มักมีเกล็ดเลือดต่ำแบบเฉียบพลัน หากเป็นในเด็กอาจมีการติดเชื้อไวรัสนำมาก่อน หรือมีประวัติฉีดวัคซีนบางชนิด ส่วนในผู้ใหญ่มักมีอาการค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการทำลายเกล็ดเลือดส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการที่ร่างกายสร้างภูมิต้านทาน มาทำลายเกล็ดเลือดเอง อย่างในโรคที่เรียกว่าเกล็ดเลือดถูกบีบ หรือ Squeeze ไปอยู่ในที่หนึ่งที่ใดมากเกินไปหรืออยู่ในก้อนที่มีหลอดเลือดผิดปกติ ( Hemangioma ) ยังผลให้เกล็ดเลือดในกระแสเลือดลดลง

บาคนที่เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำเพราะมีปริมาณน้ำในร่างกายมาก (Dilutional thrombocy topenia) พบในผู้ที่ได้รับน้ำเกลือ หรือสารน้ำคอลลอยด์ ทางหลอดเลือดดำมากเกินไป หรือได้รับส่วนประกอบอื่นๆของเลือดในปริมาณมาก ซึ่งอาจได้รับเฉพาะแต่เม็ดเลือดแดง หรือ เฉพาะแต่เม็ดเลือดขาว แต่ไม่ได้รับเกล็ดเลือดร่วม อาจพบในระยะท้ายๆของการตั้งครรภ์ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายมีปริมาณสารน้ำในเลือดสูงขึ้น แต่ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ เกล็ดเลือดมักไม่ต่ำมาก

ผู้ป่วยที่อยู่นภาวะกรดไหลย้อนบางรายอาจมีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุ

ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยกรดไหลย้อน..รักษาได้หรือไม่??

ผู้ป่วยที่อยู่นภาวะกรดไหลย้อนบางรายอาจมีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุหลอดอาหารจนกลายเป็น หลอดอาหารบาร์เรตต์   ซึ่งสามารถวินิจฉัยด้วยการส่องกล้องลงไปที่หลอดอาหารและมีการนำชิ้นเนื้อไปพิสูจน์   ซึ่งผู้ป่วยที่มีภาวะนี้มีโอกาสเป็นมะเร็งหลอดอาหารประมาณร้อยละ 2-5 ซึ่งหลังจากที่เกิดกรดไหลย้อนแล้วจะมีอาการเจ็บเวลากลืนอาหาร อาเจียนบ่อย กลืนลำบากและน้ำหนักลด ส่วนผู้ที่มีกรดไหลย้อนถึงคอหอยและหลอดลมก็อาจทำให้กลายเป็นคออักเสบ หลอดลมอักเสบ หรือเกิดการเจ็บคอและไอเรื้อรัง ทำให้กล่องเสียงอักเสบ เพราะมีเสียงแหบ ตรวจพบสายเสียงมีอาการบวมแดง โรคหืดกำเริบบ่อยเพราะน้ำย่อยไหลเข้าไประคายเคืองต่อหลอดลม

อาการของภาวะกรดไหลย้อน
หากปล่อยให้เป็นเรื้อรังนานๆ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งตามอาการที่พบเห็นได้บ่อยคือ หลอดอาหารอักเสบ  ผู้ป่วยภาวะกรดไหลย้อนจะมีอาการเจ็บหน้าอกเวลากลืนอาหาร หากไม่ได้รับการรักษา ต่อมาอาจกลายเป็นแผลหลอดอาหาร    มีอาการเลือดออก หากมีการอาเจียนจะเป็นเลือด และถ่ายเป็นสีดำ และอาจเกิดภาวะหลอดอาหารตีบซึ่งป่วยกรดไหลย้อนจะมีอาการกลืนอาหารลำบาก อาเจียนบ่อย ทำให้จำเป็นต้องรักษาด้วยการใช้เครื่องมือถ่างหลอดอาหารเป็นครั้งคราว ถ้าเป็นมากอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง คืออาการของปอดอักเสบที่เกิดจากการสำลักน้ำย่อยเข้าไปในปอด จะพบบ่อยในทารกอายุ  1-4  เดือน โรคนี้ยังเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง ทำให้ผิวฟันกร่อนจากการกัดของน้ำย่อยเป็นเวลานาน

การดำเนินโรคและการรักษาโรคกรดไหลย้อน
ถ้าได้รับการวินิจฉัยและรักษาแต่เนิ่นๆ ของโรคกรดไหลย้อนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง จะช่วยให้โรคทุเลาหรือหายเร็วขึ้น แต่หลังหยุดยาอาจกำเริบได้เป็นครั้งคราวทำให้ต้องคอยกินยาตามอาการกรดไหลย้อนที่กำเริบมากินอีกครั้ง แต่สำหรับสตรีที่ตั้งครรภ์ หลังคลอดอาการก็อาจหายไปได้เอง แต่ถ้าผู้ป่วยกรดไหลย้อนปล่อยปละละเลย ไม่กินยา ไม่ยอมปฏิบัติตัวตามแพทย์สั่งก็มักจะเป็นรุนแรง และเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้

http://acidreflux.lnwshop.com/