Monday, June 12, 2017

สำหรับผู้สูงอายุไม่ควรจะกำหนดว่า แต่ละวันคุณจะต้องนอนกี่ชั่วโมง และอย่าไปวิตกว่าคืนนี้คุณจะนอนไม่หลับอีก

นอนไม่หลับทำไงดี.. กินยานอนหลังบ่อยๆ มีผลต่อสุขภาพอย่างไร??

สำหรับผู้สูงอายุไม่ควรจะกำหนดว่า แต่ละวันคุณจะต้องนอนกี่ชั่วโมง และอย่าไปวิตกว่าคืนนี้คุณจะนอนไม่หลับอีก เพราะ ยิ่งคิดว่าจะนอนไม่หลับมากเท่าไหร่ สมองก็จะทำให้คุณคิดว่าคุณสั่งให้นอนไม่หลับเท่านั้น ซึ่งการนอนวันละ 8 ชั่วโมง เป็นค่าเฉลี่ยของการนอนี่เหมาะสม บางคนอาจจะนอนน้อยกว่านั้นและสูงอายุไม่จำเป็นต้องตรงเวลามากเกินไป แต่ให้ใกล้ เคียงกันกับเวลาของการนอนให้เพียงพอสักเล็กน้อยก็น่าจะดีกว่า แต่หากนอนไม่หลับหรือนอนไม่เป็นเวลา ก็จะกระทบกับการตื่นหรือการเข้านอนในวันถัด ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นวงจรการนอนไม่หลับอย่างนี้ไปเรื่อยๆ  ที่สำคัญคือ ลองค่อยๆ ปลดปล่อยความกังวลออกบ้าง

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ
ไม่ว่าจะเป็นโรคปัสสาวะบ่อย ปวดเมื่อยเนื้อเมื่อยตัว หรือไอช่วงกลางคืนจนนอนไม่ได้ เป็นสาเหตุของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่นอนไม่หลับ ส่งผลทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพต่างๆ ตามมา  อีกทั้งยังเกิดปัญหาด้านจิตใจและโรคตามมาอีกมาก  ไม่ว่าจะเป็นโรคความเครียด  อาการน้อยใจ กังวลหรือตื่นเต้น อาการหดหู่  ชอบเกิดความคาดหวัง และอาการชอบที่จะตำหนิตัวเอง  การนอนไม่หลับนอกจากนี้อาจเป็นผลข้างเคียงจากยาบางชนิด อย่างยาประเภทขยายหลอดลม หรืออาจเป็นเพราะเปลี่ยนยาใหม่ เมื่อกินยาแก้คัดจมูก หรือแม้แต่ยาลดความอ้วน ฯลฯ แต่ยังมีผู้สูงอายุบางคนที่ชอบดื่มสุรา ชา กาแฟในปริมาณมาก ช่วงใกล้เวลานอนจึงส่งผลทำให้เกิดการนอนไม่หลับขึ้น 

ยานอนหลับไม่ใช่ทางออกที่ดีของอาการนอนไม่หลับ
การนอนไม่เป็นเวลาก็มีส่วนของโรคนอนไม่หลับเช่นกัน  เมื่อผู้สูงอายุบางนอนไม่หลับบ่อยๆเข้าจนเริ่มรู้สึกว่าจะไม่มีทางแก้ไขได้แล้วอาการนอนไม่หลับที่ญาติมักจะปล่อยปละละเลย เพราะไม่ติดว่าเป็นอาการร้ายแรงทำให้ผู้ป่วยบางรายมักจะแก้ปัญหาด้วยการไปซื้อยานอนหลับมารับประทานเอง ซึ่งหากติดยานอนหลับจะทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายและทำให้อาการนอนไม่หลับยิ่งแย่ลงกว่าเดิม ซึ่งการกินยานอนหลับเป็นดาบสองคมที่อาจจะกลับมาทำลายสุขภาพได้แม้ช่วงแรกจะแก้ปัญหาช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น แต่อาจจะมีการเพิ่มขนาดไปเรื่อยๆ จนอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้
   
ส่วนมากโรคนอนไม่หลับมักพบในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป และมักได้รับความทุกข์ทรมาน  ซึ่งอาจเป็นอาการเตือนของโรคอื่นๆ ทางสมอง สมควรได้รับการตรวจพบและแก้ไข ก่อนที่จะสายเกินไป  


No comments:

Post a Comment