Tuesday, March 21, 2017

การวินิจฉัยโรคบางชนิดต้องใช้วิธีการตรวจเลือดเพื่อสามารถช่วยวินิจฉัยโรค

ความรู้เรื่องที่หลายคนต่างสงสัยว่าทำไมผู้สูงอายุควรตรวจเลือด
ในวัยผู้สูงอายุนั้นมักเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้หลายชนิด โดยเฉพาะหลอดเลือด  และโรคในระบบหัวใจ นอกจากนั้น การตรวจเลือดในผู้สูงอายุมักจะทำการตรวจเพื่อตรวจสอบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย เช่น การทำงานของ  ไต  ตับ และระบบฮอร์โมน เป็นต้น
ประโยชน์ของการตรวจเลือด
โดยปกติแล้วเมื่อรู้สึกไม่สบายคนส่วนใหญ่จึงจะพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการป่วยนั้น ๆ ซึ่งแพทย์ก็จะทำการซักประวัติ และตรวจร่างกายเบื้องต้น รวมถึงการเจาะเลือดตรวจเพื่อให้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งการตรวจเลือดจึงมีประโยชน์ ดังนี้
1. การวินิจฉัยโรคบางชนิดต้องใช้วิธีการตรวจเลือดเพื่อสามารถช่วยวินิจฉัยโรคที่มีลักษณะอาการที่คล้ายคลึงกันได้ เช่น โรคตับอ่อน โรคอาหารเป็นพิษ ลำไส้อักเสบ  กระเพาะอาหารอักเสบ  เป็นต้น
2. ข้อมูลที่ได้จากการตรวจเลือดนั้นสามารถใช้สำหรับการจัดการในด้านการรักษาอาการของโรค เช่น การตรวจวัดระดับปริมาณยาที่อยู่ในเลือดเพื่อควบคุมระดับยาให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ และไม่เป็นพิษต่อร่างกาย เป็นต้น
 3. ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการที่แสดงถึงความผิดปกติของโรค หากตรวจวินิจฉัยด้วยการตรวจเลือดอาจสามารถทำให้ทราบถึงโรคที่แฝงอยู่ได้
การตรวจเลือด ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่แพทย์ใช้สำหรับการวินิจฉัยโรคเนื่องจากเลือดนั้นเป็นตัวกลางสำคัญในการนำพาสารอาหาร  นำพาน้ำ  เชื้อโรค สารพิษ รวมถึงสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกาย ขณะเดียวกันก็ยังทำหน้าที่ในการรับ และนำพาสารต่าง ๆ ที่ร่างกายปล่อยออกมด้วย โดยสารต่าง ๆ นั้นอาจเข้าสู่ร่างกายด้วยการดื่มกิน การหายใจ หรือการแทรกซึมผ่านผิวหนัง ผ่านแผลและเข้าสู่ระบบกระแสโลหิต ดังนั้น การตรวจเลือดจึงเป็นวิธีที่สามารถตรวจหาสารปนเปื้อนที่เข้าสู่ร่างกายได้อย่างแม่นยำ และรวดเร็วที่สุด

การกำจัดขนอันไม่พึงประสงค์นั้นหลาย ๆ คนต้องสรรหาวิธีจัดการเพื่อกำจัดขนถาวร

เทคนิคการกำจัดขนถาวรให้ผิวเนียนเกลี้ยงเกลาไร้เงาขน
การกำจัดขนอันไม่พึงประสงค์นั้นหลาย ๆ คนต้องสรรหาวิธีจัดการเพื่อกำจัดขนถาวรกันอย่างไม่มีวันจบสิ้น แม้เรื่องของขนจะดูเป็นเรื่องที่เป็นธรรมชาติก็จริง  และจะมีมากหรือมีน้อยก็ไม่พ้นต้องดึงต้องถอนกันอยู่ตลอดเวลาเพราะการที่บริเวณหนึ่งบริเวณใดมีขนแล้ว ผิวพรรณส่วนนั้นก็จะถูกบดบังความงดงาม  ทำให้ผิวดูไม่เรียบเนียน หลายๆ คนจึงสรรหาวิธีกำจัดขนเหล่านี้

วิธีกำจัดขนแบบเก่าด้วยการถอนและการโกน
การถอนและการโกนทั้งสองวิธีนี้เป็นการทำร้ายผิวหนังบริเวณนั้นอย่าง มาก โดยเฉพาะการถอนขนผลร้ายที่เกิดขึ้นก็คือทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นนูนเป็นตุ่มเล็ก ๆ เหมือนหนังไก่ เกิดขนคุด และรอยหมองคล้ำ จนทำให้หลายคนขาดความมั่นใจแต่ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์ ทำให้มีการกำจัดขนถาวรเกิดขึ้น
กำจัดขนแบบถาวร
การใช้แสงในการกำจัดขนถาวรกำลังได้รับความนิยมเนื่องจากเห็นผลค่อนข้างชัดเจน ปลอดภัย สามารถเผาผลาญและทำลายรากขนซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของเส้นขนได้อย่างสิ้นซาก  การใช้แสงในการกำจัดขนจึงมีความโดดเด่นในการกำจัดขนตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับทุกสีผิว โดยปราศจากการทำลายรูขุมขน มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย จึงทำให้เส้นขนที่เกิดใหม่จะมีขนาดที่เล็กลง สีอ่อนลง และจะค่อยๆ ขึ้นน้อยลง

ถึงแม้ว่าขนจะเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายก็ตาม แต่ก็คงไม่มีผู้หญิงคนไหนที่อยากจะมีขนมากมายเพราะทำให้เสียความมั่นใจจึงต้องหาทางกำจัดขนให้สิ้นซากด้วยการกำจัดขนถาวรโดยเฉพาะผู้หญิงบางคนนั้นอาจมีฮอร์โมนเพศชายในร่างกายสูงกว่าปกติ จึงทำให้มีขนมากกว่าคนปกติทั่ว ๆ ไป

พาร์กินสันเป็นโรคของสมองซึ่งเกิดจากความเสื่อมของสมองเฉพาะที่บางจุด

ดูแลผู้สูงวัยให้ห่างไกลจากโรคพาร์กินสัน โรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ
ในต่างประเทศมีรายงานว่าในประชากรที่มีอายุเกิน 65 ปีขึ้นไป จะมีผู้ป่วยพาร์กินสันอยู่ประมาณ 1 %  สำหรับในประเทศไทย จากรายงานของโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่ให้การรักษาพบว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคพาร์กินสันอยู่ในหลักหมื่นเท่านั้นเนื่องจากมีผู้ป่วยพาร์กินสันที่ยังไม่รู้ตัวจึงไม่ได้เข้ารับการรักษา
โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
พาร์กินสันเป็นโรคของสมองซึ่งเกิดจากความเสื่อมของสมองเฉพาะที่บางจุด และอาจเกิดร่วมกับการเสื่อมของสมองส่วนอื่น ๆ ด้วย  ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุในการเกิดพาร์กินสันที่แน่ชัด แต่คาดว่ามีสารก่อความแพ้บางอย่างในร่างกายที่ส่งผลให้ผู้ป่วยด้วยโรคพาร์กินสันมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปรกติ
กลุ่มอายุที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคพาร์กินสัน
กลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคพาร์กินสันได้แก่ผู้สูงอายุ ซึ่งจากสถิติของสถาบันประสาทวิทยาพบว่า 80 % ของผู้ป่วยพาร์กินสันนั้นมีอายุ 60 ปีขึ้นไปแต่ทั้งนี้คนที่อายุน้อยก็มีสิทธิ์ป่วยเป็นโรคพาร์กินสันได้เช่นกัน แต่พบได้น้อยมาก

โรคพาร์กินสัน เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุซึ่งผู้ที่ค้นพบโรคพาร์กินสันเป็นครั้งแรกคือ  นายแพทย์เจมส์ พาร์กินสัน ชาวอังกฤษ จึงได้มีการตั้งชื่อโรคตามคุณหมอท่านนี้ และนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 เป็นต้นมา และยังได้มีการกำหนดให้ วันที่ 11 เมษายน ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดของนพ.เจมส์ พาร์กินสันเป็นวันพาร์กินสันโลก เพื่อจัดกิจกรรมให้ความรู้ สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของโรค รวมทั้งการดูแลรักษาโรคพาร์กินสันนี้แก่ประชาชนด้วย

“โรคหนังแข็ง” เป็นโรคที่ถูกจัดรวมไว้ในกลุ่มโรคที่รู้จักกันดีในชื่อ “โรคแพ้ภูมิตนเอง”

ความรู้เรื่องโรคหนังแข็งที่ผู้หญิงอายุ 40 – 50 ปีต้องระวัง!!!
โรคหนังแข็ง” เป็นโรคที่ถูกจัดรวมไว้ในกลุ่มโรคที่รู้จักกันดีในชื่อ โรคแพ้ภูมิตนเอง” หรืออีกหนึ่งชื่อที่คุ้นกันดีคือโรคเอสแอลอี (SLE) / (Lupus) ซึ่งความผิดปกติในการทำงานของเซลล์ไฟโบรบลาสต์ เป็นผลพวงมาจากความผิดปกติในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ส่งผลทำให้เกิดการอักเสบเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง ในทางการแพทย์ยังคงเชื่อว่าสาเหตุที่เกิดนั้นเกี่ยวข้องกับลักษณะทางพันธุกรรมร่วมกับปัจจัยแวดล้อมบางอย่าง เช่น การติดเชื้อหรือการสัมผัสกับยาและสารเคมีบางชนิด
http://scleroderma.lnwshop.com/

คนที่มีผิวหนังแข็งกว่าคนปกติทั่ว ๆ ไปจะเป็นโรคหนังแข็งหรือไม่?
ผิวหนังที่แข็งขึ้นกว่าปกตินั้น เกิดจากสาเหตุอื่นได้ เช่น ได้รับการรักษามะเร็งโดยการฉายรังสีรักษา  เป็นโรคเบาหวาน    ได้ยาเคมีบำบัดบางชนิด  หรือสัมผัสกับสารเคมีบางอย่างเป็นระยะเวลานาน รวมถึงโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิด  ดังนั้นคนที่มีผิวหนังแข็งกว่าปกติไม่จำเป็นต้องเกิดจากโรคหนังแข็งเสมอไป

โรคหนังแข็งจะต้องแข็งทั้งตัวหรือไม่
โรคผิวหนังแข็งมีหลายชนิด และไม่จำเป็นต้องเกิดอาการผิวหนังแข็งทั่วทั้งตัว  โรคหนังแข็งบางชนิดจะเกิดอาการผิวหนังแข็งเป็นหย่อม ๆ หรือเป็นแถบเล็ก ๆ ที่เรียกว่า มอร์เฟีย (Morphea)” ซึ่งบางชนิดจะเกิดอาการผิวหนังแข็งเป็นบริเวณกว้าง หรืออาจเกิดอาการผิวหนังแข็งทั่วทั้งตัว
โรคหนังแข็งนี้ มักพบผู้ป่วยที่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายประมาณ 2:1  และมักพบในผู้หญิงช่วงอายุระหว่าง 30-60 ปี (ระยะช่วงอายุที่พบสูงสุดคือช่วงอายุ 40-50 ปี) และอาจเกิดอาการผิวหนังแข็งเฉพาะที่แขน  ขา โรคผิวหนังแข็งบางชนิดอาจเกิดอาการผิวหนังแข็งที่บริเวณใบหน้าเพียงซีกเดียว  ดังนั้นคุณผู้หญิงที่ช่วงอายุ 40 – 50 ปีควรดูแลสุขภาพให้ดีเพื่อป้องกันการเกิดโรคหนังแข็งเพราะกันไว้ย่อมดีกว่าแก้

หลายคนคงเคยเห็นโรคด่างขาวมาบ้าง โดยอาจจะมีเพื่อนหรือญาติที่เป็นโรคนี้

เทคนิคการดูแลรักษาอาการของโรคด่างขาว  เป็นได้  หายได้  ไม่น่ากลัว  ไม่ต้องกังวล
หลายคนคงเคยเห็นโรคด่างขาวมาบ้าง โดยอาจจะมีเพื่อนหรือญาติที่เป็นโรคนี้ ซึ่งโรคด่างขาวไม่ใช่โรคร้ายแรง ไม่ใช่โรคติดต่อรวมถึงไม่มีอันตรายอีกด้วยแต่ก็จะมีข้อเสียบ้างก็เฉพาะในด้านความสวยงามเท่านั้น

โรคด่างขาวเกิดขึ้นได้อย่างไร?
สีผิวของคนเรานั้นอาจเปลี่ยนเป็นรอยด่างขาวได้จากหลายสาเหตุ เช่น เป็นเชื้อรา  เป็นปาน หรือรอยที่ผิวหายจากผิวอักเสบ หรือผิวหลุดออกจากถูกไฟลวก ถูกสารเคมี กรดด่าง หรือยาฟอกสีผิว หรือโรคของระบบภายในร่างกาย ก็ทำให้เกิดผิวด่างขาวได้ 

การดูแลรักษา
อันตรายของโรคด่างขาวอาจเกิดจากการรักษาไม่ถูกต้อง ซึ่งนอกจากโรคจะไม่หายแล้วยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเสียเงินค่ารักษาแพงเกินความจำเป็นอีกด้วย การรักษานั้นมีทั้งยากินและทา  ทั้งนี้ต้องมีการตากแดดร่วมด้วย จึงจะมีการกระตุ้นเซลล์ให้ผลิตสีได้ 

วิธีรักษา
วิธีรักษานั้น ให้ทายาบริเวณที่เป็น หลังจากที่ทายาแล้วประมาณครึ่งชั่วโมงจึงไปตากแดด โดยนั่งให้แดดส่องบริเวณที่เป็นด่างประมาณ 10 – 15  นาที ในกรณีที่ผู้เป็นโรคด่างขาวไม่สะดวกที่จะตากแดด ก็อาจใช้วิธีฉายแสงแทน โดยให้ผู้ป่วยเข้ารับการฉายแสงจากตู้ฉายแสงที่โรงพยาบาลที่มีบริการชนิดนี้

ระยะเวลาในการรักษา
ถ้าการรักษาได้ผลจะมีจุดสีดำเกิดขึ้นบริเวณที่เป็นโรคด่างขาว มักเกิดบริเวณรอบรูขุมขนก่อน  ส่วนในรายที่การรักษาด้วยยาทาไม่ได้ผลหรือในรายที่เป็นมาก ก็อาจจำเป็นที่จะต้องใช้ยากิน ระยะเวลาของการรักษาอาจกินเวลานานเป็นเดือนหรือเป็นปี

สรุปว่าโรคด่างขาวนี้เป็นโรคที่หายยาก การรักษาไม่สามารถทำให้โรคหายทุกราย จะหายได้ในบางรายเท่านั้น วิธีช่วยเมื่อการรักษาไม่ได้ผลคือการปกปิดรอยด่างด้วยเครื่องสำอางซึ่งจะแก้ปัญหาเรื่องความสวยงามได้

การมีขดคุดที่หลัง อาจจะไม่มีอาการคัน แต่เมื่อลูบไล้ผิวแล้วพบว่าไม่ค่อยเนียน

เทคนิคการดูแลผิวแผ่นหลังให้เนียนเรียบผิวใสไร้ขนคุดที่ทำให้รำคาญใจ
http://www.skin-pro.biz/
การมีขดคุดที่หลัง อาจจะไม่มีอาการคัน แต่เมื่อลูบไล้ผิวแล้วพบว่าไม่ค่อยเนียน ขนคุดนี้เกิดจากความผิดปกติของผิวหนังที่ปากรูขุมขนหนาตัวปิดช่องรูขุมขน เป็นตุ่มนูนขึ้นมาทำให้เส้นขนออกมาไม่ได้ มักไม่มีอาการใด ๆ
ปกติการทายาลดอาการอักเสบของผิวบริเวณที่มีขนคุดทำให้ปัญหาลดลงหรือหายไปได้ แต่ก็จะกลับมาเป็นอีก การขัดถูกรบกวนโดยใช้สบู่มากๆ มักทำให้อาการรุนแรงมากขึ้นจึงควรหลีกเลี่ยงการขัดถูสบู่แรง ๆ ให้น้อยลง และทาครีมที่ให้ความชุ่มชื้นกับผิวจะเป็นวิธีการลดปัญหาที่ง่ายที่สุด แต่ไม่ได้ทำให้เม็ดที่มีอยู่เดิมหายไป 
การรักษาขนคุดบริเวณผิวหนังแผ่นหลัง มีดังนี้  
กรณีถ้าหากเป็นขนคุดไม่มาก สามารถทาครีมบำรุงผิวเพื่อให้ผิวชุ่มชื้นมากขึ้น ซึ่งก็จะช่วยทำให้ผิวที่มีลักษณะขรุขระเป็นหนามๆ ของขนคุดเรียบเนียนมากขึ้นได้ 

ในกรณีถ้าเป็นขนคุดมาก ผิวเป็นหนามขรุขระมาก  ให้ทาครีมที่มีส่วนผสมของสารที่ช่วยชลอหรือผลัดเซลผิวทาได้ เช่น กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid) , AHA , กรดแลคติก (Lactic acid) ซึ่งสารเหล่านี้จะช่วยทำให้ขนคุดมีลักษณะเรียบเนียนขึ้น 

แต่อย่างไรก็ตามภาวะขนคุดนี้สามารถเกิดขึ้นและเป็นอยู่ได้ตลอดเวลา ดังนั้นควรจะทาครีมบำรุงและครีมที่ผสมสารที่ช่วยผลิตผลัดเซลผิวอยู่เป็นประจำ

สำหรับการรักษาขนคุดด้วยเลเซอร์สามารถทำให้ขนคุดดีขึ้นได้แต่ทั้งนี้ต้องปรึกษาคุณหมอเพื่อให้คุณหมอประเมินและวางแผนการรักษาที่จำเป็นและเหมาะสมให้