Tuesday, September 26, 2017

โรคหนังแข็งเป็นโรคเรื้อรังที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับความผิดปกติ

เผยแนวทางการรักษาโรคหนังแข็ง  โรคที่สตรีวัย 40 ปีควรระวัง
 
รักษาโรคหนังแข็ง คลิก >> http://sclherb.lnwshop.com/
โรคหนังแข็งเป็นโรคเรื้อรังที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผิวหนังจะแข็ง ๆ ตึง ๆ  บริเวณที่ปลายนิ้วจะเป็นสีเขียวเมื่อเวลาที่ถูกความเย็น  อาการอาจเป็นเฉพาะผิวหนังอย่างเดียว หรือพบอาการระบบอื่นด้วย

สำหรับโรคหนังแข็งจะพบมากในเพศหญิง เริ่มมีอาการช่วงอายุ 40 ปี อาการที่เกิดอาการของโรคหนังแข็งนี้เกิดขึ้นในระยะเวลาที่แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย บางรายขยายตัวเร็วมากในระยะเวลาเพียง 1-2 เดือน แต่บางรายก็มีอาการค่อยเป็นค่อยไปอาจใช้เวลาหลายเดือนหรือร่วมปี อาการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วคือลักษณะอาการในกลุ่มที่มีอาการรุนแรง และมักเกิดภาวะแทรกซ้อนของอวัยวะภายในได้บ่อยกว่า

การรักษา
เนื่องจากการโรคหนังแข็งรักษาค่อนข้างยาก ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ส่วนใหญ่สาเหตุสำคัญที่สุด ที่ทำให้การรักษาไม่ได้ผลคือ การพบแพทย์ช้า ทำให้ไม่ได้เริ่มรักษาตั้งแต่ระยะแรกของโรค

 โรคหนังแข็งนี้ มักพบผู้ป่วยที่เป็นเพศหญิง ระยะช่วงอายุที่พบสูงสุดคือช่วงอายุ 40-50 ปี  และอาจเกิดอาการผิวหนังแข็งเฉพาะที่แขน  ขา โรคผิวหนังแข็งบางชนิดอาจเกิดอาการผิวหนังแข็งที่บริเวณใบหน้าเพียงซีกเดียว  ดังนั้นคุณผู้หญิงที่ช่วงอายุ 40 – 50 ปีควรดูแลสุขภาพให้ดีเพื่อป้องกันการเกิดโรคหนังแข็งเพราะกันไว้ย่อมดีกว่าแก้ หากสงสัยควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
อาการของโรคหนังแข็งจะหลากหลายมากเนื่องจากระยะเวลาที่ผู้ป่วยที่พบแพทย์จะแตกต่างกัน ซึ่งเมื่อได้พบแพทย์แล้วแพทย์ก็จะอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโรค เพื่อคลายความกังวลและป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยด้วยอาการของโรคหนังแข็งต้องแสวงหาการรักษาตามความเชื่อที่อาจจะไม่ถูกต้องตามหลักวิชา


สถานะ : Public

และปัญหาเรื่องของขนคุดก็เป็นหนึ่งในปัญหาเหล่านั้น

2  วิธีในการลดปัญหาและรักษาขนคุดได้ง่าย ๆ
ปัญหาของเรื่องเกี่ยวกับความสวยความงามที่คอยกวนใจคุณผู้หญิงแทบจะทุกวัยนั้นมีอยู่มากมายหลายอย่างเลยทีเดียว
และปัญหาเรื่องของขนคุดก็เป็นหนึ่งในปัญหาเหล่านั้นที่หลายคนต้องพบเจออยู่บ่อยๆ

สาเหตุหรือที่มาของการเกิดเป็น ขนคุด
สาเหตุหรือที่มาของการเกิดเป็นขนคุดนั้นก็คือเป็นขนที่เกิดมาใหม่ ภายหลังจากการโกนขนในบริเวณส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการโกนขนหน้าแข้ง  การโกนหนวด เครา  หรือขนรักแร้ เป็นต้นซึ่งขนที่เกิดการงอกขึ้นมาใหม่นี้ จะเกิดการม้วนงอตัวกลับเข้าไปทิ่มในรูขุมขน จนกระทั่งผิวหนังบริเวณนั้น เกิดการอักเสบขึ้นมานั่นเอง 

วิธีการรักษาขนคุด
วิธีการรักษาขนคุดนั้นจริงๆ แล้ว ไม่มีวิธีทำให้หายขาดตลอดไปได้ แต่จะค่อยๆ ลดอาการลงไปเอง เมื่อมีอายุมากขึ้นแต่การบรรเทาอาหารขนคุด  หรือการลดขนคุดนั้น สามารถทำได้ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

1.  ใช้สบู่อ่อน ๆ หรือสบู่เด็ก 
ในการทำความสะอาดสิ่งสกปรกต่าง ๆ หลีกเลี่ยงการขัดผิว เพราะจะทำให้ผิวเกิดความแห้งมากขึ้น  และต้องทาครีม หรือโลชั่นที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง ทั้งนี้ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ และน้ำหอมด้วย                   อีกทั้ง ควรหลีกเลี่ยงการบีบ เค้น แกะตุ่มที่เกิดจากขนคุด ด้วยเพราะจะยิ่งไปทำให้มีอาการรุนแรงขึ้น
 2.  การทำเลเซอร์เพื่อกำจัดขน
สถานะ : Public
Tags : โรคขนคุด
x
 เป็นการใช้ความร้อนจากแสงเลเซอร์ เพื่อทำลายรากขน ซึ่งโดยปกติแล้ว ต้องทำการรักษาประมาณ ครั้ง หรืออาจจะน้อยกว่านี้ ก็แล้วแต่ร่างกายของแต่ละคนนั่นเอง

ขนคุดนั้นโดยปกติแล้ว ไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาอันตรายกับสุขภาพ แต่เพื่อเป็นการป้องกันปัญหา ไม่ให้ขนคุดเกิดการกวนใจอีกก็ต้องหาทางหลีกเลี่ยงการโกนก็จะช่วยลดปัญหาการเกิดขนคุดให้น้อยลงไปได้


Sunday, September 24, 2017

การดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคผิวหนังอักเสบตามขั้นตอนต่อไปนี้

เทคนิคการดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคผิวหนังอักเสบ
โรคผิวหนังอักเสบเป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่น่ารำคาญและรักษาให้หายขาดได้ยาก ซึ่งเมื่อโรคกำเริบในระยะแรก ผิวหนังจะมีตุ่มใสขนาดเล็กและคันเมื่อเกาก็จะทำให้ผิวหนังแห้งและมีสะเก็ดซึ่งการดูแลตนเองที่บ้านควรเน้นรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนังจะลดอาการคันและช่วยให้หายเร็วขึ้น

การดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคผิวหนังอักเสบตามขั้นตอนต่อไปนี้
ในช่วงฤดูหนาว
ดูแลให้ผิวชุ่มชื้นอยู่เสมอ และหมั่นทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศเป็นประจำเพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อราและเชื้อโรคต่าง ๆ

ในช่วงฤดูร้อน
ควรอยู่ในที่เย็น ๆ เพราะการมีเหงื่อออกมากในช่วงฤดูร้อนอาจกระตุ้นให้ผื่นกำเริบ จึงควรอยู่ในที่เย็น ๆ หรือเปิดเครื่องปรับอากาศให้เย็นสบายตลอดเวลา

หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำและผงซักฟอก ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ก็ให้สวมถุงมือผ้าฝ้ายไว้ข้างในแล้วสวมถุงมือยางทับอีกชั้น อย่าให้มือสัมผัสยางโดยตรง เพราะบางคนอาจเกิดอาการแพ้และกระตุ้นให้ผื่นขยายตัวเพิ่มขึ้น

หลีกเลี่ยงสารซักล้างทุกชนิดใช้ผลิตกัณฑ์ที่ไม่มีสารระคายเคือง ไม่ผสมกลิ่น และสี หลีกเลี่ยงน้ำยาฟอกขาว และน้ำยาปรับผ้านุ่ม เมื่อซักผ้า ให้ซักน้ำเปล่าเพิ่มขึ้นอีก รอบ เพื่อกำจัดน้ำยาซักผ้าออกให้หมด

หากรักษาเองแล้ว ยังมีผื่นขึ้นเป็นบริเวณกว้าง หรือกำเริบบ่อย ควรพบแพทย์ หากผื่นเริ่มแสดงอาการติดเชื้อ เช่น ปวดแผล มีหนอง ผิวแตกเป็นริ้วสีแดง เจ็บปวดรุนแรง บวม หรือไขขึ้น ก็ควรรีบพบแพทย์

การทาครีมบำรุงเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวอย่างเต็มที่คือสิ่งสำคัญที่ช่วยให้โรคผิวหนังอักเสบหายเร็วขึ้นเคล็ดลับง่าย ๆ ที่ควรปฏิบัติคือ หลังจากอาบน้ำเสร็จใหม่ ๆ ให้ชโลมผิวบริเวณที่มีอาการด้วยครีมเพิ่มความชุ่มชื้น 

ข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคที่รักษาได้

เชื่อหรือไม่??? กายภาพบำบัดช่วยรักษาโรครูมาตอยด์ได้ ??

http://rheumatoid.lnwshop.com/

ข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคที่รักษาได้ และสิ่งปกติที่เกิดขึ้นกับข้อส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่ป้องกันและรักษาได้  ที่สำคัญการรักษาโรครูมาตอยด์ ต้องอาศัยการกินยาแอสไพรินอย่างสม่ำเสมอนานเป็นเดือน ๆ หรือเป็นปี รวมทั้งอาจมียาอื่นๆ ตามคำแนะนำของแพทย์เฉพาะทางเพื่อรักษาอาการให้หายเร็วขึ้น ซึ่งกว่าอาการของโรครูมาตอยด์จะทุเลาจนร่างกายเกือบเป็นปกตินั้น จะต้องใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 3-4  เดือน แต่จะต้องกินยาแอสไพรินติดต่อกันไปเรื่อย ๆ เมื่อรู้สึกแข็งแรงจนเป็นปกติแล้ว จึงค่อย ๆ หยุดยา ....ว่ากันว่านอกจากการกินยาแล้ว การหันมาออกกำลังกายและทำกายภาพบำบัดก็สามารถช่วยให้หายจากโรคนี้ได้ ??

กายภาพบำบัด..แสงสว่างของผู้ป่วยรูมาตอยด์
นอกจากการกินยาแอสไพรินหรือยาตามที่แพทย์จัดให้แล้ว ผู้ป่วยรูมาตอยด์จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะค่อยๆ แข็งแรงขึ้น ที่สำคัญจะต้องมีความอดทนและมีกำลังใจและหันมาฝึกกายบริหารให้กล้ามเนื้อและข้อต่าง ๆ แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะไม่มีวิธีหรือยาวิเศษใด ๆ ในโลกนี้ขณะนี้ที่จะทำให้โรคที่เป็นอยู่หายได้ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งการรักษาทางกายภาพบำบัดเป็นหัวใจของการรักษาโรครูมาตอยด์ ที่มีความสำคัญรองจากยาระงับอาการอักเสบ อย่างแอสไพริน เพราะการที่ผู้ป่วยจะฟื้นฟูสมรรถภาพของข้อต่าง ๆ  เพื่อให้ใช้งานได้ดีที่สุดเพียงใดขึ้นอยู่ที่ส่วนนี้

ลดอาการปวดรูมาตอยด์ด้วยกายภาพบำบัด
การทำกายภาพบำบัดของผู้ป่วยรูมาตอยด์สามารถทำได้ที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นการประคบน้ำอุ่น ซึ่งการแช่หรืออาบน้ำอุ่น จะช่วยลดความเจ็บปวดและอาการฝืดของข้อได้ โดยผู้ป่วยอาจจะต้องใช้เวลาประคบประมาณ  15 นาที  แล้วพยายามกัดฟันขยับตามส่วนต่างๆ ของข้อที่ปวด หรือบวมอย่างช้า ๆ  ครั้งแรกของการทำกายภาพข้อจะปวดมากเวลาขยับ แต่เมื่อเคลื่อนไหวให้สุดแรงอย่างเต็มที่แล้ว (อย่างการกำมือและเหยียดเต็มที่)ประมาณ 3-5 ครั้ง ความฝืดและความเจ็บปวดจะค่อย ๆ ลดลง  ซึ่งผู้ป่วยควรพยายามขยับตามข้ออย่างช้า ๆ ท่าละ 10 ครั้ง แล้วทำซ้ำใหม่ทุก  1-2 ชั่วโมง จะช่วยลดอาการเจ็บปวดทรมานในระยะยาวได้ดี

การฝึกท่ากายบริหารหรือกายภาพบำบัดของผู้ป่วยรูมาตอยด์นี้ ควรเริ่มทำภายหลังจากเริ่มกินยาแอสไพรินไปแล้ว ประ มาณ 1 สัปดาห์ หากเกิดอาการปวดมากเกินไปก็อย่าเพิ่งหักโหม แต่ให้ค่อยๆ ขยับตามข้อต่างๆไว้ก่อน พยายามทำเฉพาะท่าที่พอทำได้ พยายามอาบน้ำอุ่นจัด ๆ ในตอนเช้า จะทำให้ทุเลาความฝืดและเจ็บปวดได้มาก   

มีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคนอนไม่หลับอยู่มาก มีสาเหตุมาจากอะไรมาดูกันครับ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดสาเหตุของโรคนอนไม่หลับ
ปัจจัยทางด้านร่างกายของบางคนอาจมีอาการเจ็บป่วยของโรค  หรือทำให้เกิดอาการเจ็บปวดตามอวัยวะต่าง ๆ และอาจส่งผลทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับหรือเกิดโรคแทรกซ้อนได้แบบไม่น่าสงสัย ไม่ว่าจะเป็น โรคกระเพาะอาหาร ไมเกรน หรือบาดแผลจากการได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ฯลฯ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคนอนไม่หลับอยู่มาก มีสาเหตุมาจากอะไรมาดูกันครับ

1.โรคการหายใจที่ผิดปกติขณะหลับ 
โรคการหายใจที่ผิดปกติขณะนอนหลับ หรือ (Sleep Related Breathing Disorders) ที่เราเรียกกันว่าการกรนขณะนอนหลับ เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่มีผลต่ออาการนอนไม่หลับ ซึ่งผู้ที่เป็นโรคนี้จะหยุดหายใจในช่วงเวลาสั้น ๆ  ทำให้จะต้องตื่นขึ้นมาเรื่อย ๆ ขณะนอนหลับ เป็นความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดการกระตุกและการเกร็งและ อาจทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับเพราะต้องตื่นขึ้นกลางดึก หรือนอนหลับไม่สนิท 

2.การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
การนอนไม่หลับบางครั้งยังอาจเกิดกับหญิงที่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์ ซึ่งการนอนไม่หลับส่วนใหญ่เกิดจากฮอร์โมนและสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ปกติเมื่อร่างกายเจริญเติบโตตามช่วงวัยและมีอายุเพิ่มมากขึ้น อาจทำให้การนอนหลับพักผ่อนลดน้อยลง เพราะร่างกายจะผลิตสารเซโรโทนิน (ฮอร์โมนที่ช่วยให้นอนหลับมีการลดลง) ทำให้พบปัญหาการนอนไม่หลับในช่วงวัยกลางคนก่อนเข้าสู่วัยชรา รวมทั้งวัยชราด้วย

3.ปัจจัยทางด้านจิตใจส่งผลทำให้นอนไม่หลับ
 มีความเครียด หรือวิตกกังวลรวมทั้งอาการซึมเศร้า หดหู่ ดีใจ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นต่อจิตใจ รวมทั้งอาการตื่นเต้นประหม่า ที่จะได้ทำกิจกรรม หรือทำอะไรบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นกรสอบ การแข่งขัน การนัดเดทครั้งแรก ฯลฯ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจกลายเป็นความเครียด จนอาจทำให้นอนไม่หลับเพราะเกิดความกังวลกับเรื่องที่จะเกิดขึ้นนั่นเอง

ปัจจัยทั่วๆ ไปที่ทำให้นอนไม่หลับ
ด้วยสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม อย่างการส่งเสียงดังเมื่อคุณอยู่ในเขตก่อสร้าง หรือชุมชนที่เป็นห้องเช่าติดกัน เสียงต่างๆ เหล่านั้นอาจมารบกวนประสาทสัมผัสในขณะนอนหลับ แม้แต่เสียงดนตรี เสียงเพลงงานวัด หรือแม้แต่แสงที่สว่างจ้า และการรับรู้กลิ่นต่าง ๆ  ที่มีมากมายจนรบกวนสภาวะผ่อนคลายของการนอนหลับ ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับหรือนอนได้น้อย หรือหลับๆ ตื่นๆ  อีกทั้งการรักษาบาดแผลมีผลเพราะผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวดจนนอนไม่หลับ  อย่างการคีโมในผู้ป่วยมะเร็ง  หรือความเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด ฯลฯ  

นอกจากสาเหตุดังกล่าว อาการนอนไม่หลับอาจเกิดจากนิสัยเฉพาะตัว อย่างการนอนผิดเวลา ,การทำงานเป็นกะ การนอนผิดที่ผิดกลิ่น   การกินอาหารที่มากเกินไปก่อนนอน , การดื่มและใช้สารเสพติด  ซึ่งอาจทำให้นอนไม่หลับหรือตื่นขึ้นมากลางดึกได้

โรคเกล็ดเลือดต่ำ หากตรวจพบว่าเป็นแล้วได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดอาการ

โรคเกล็ดเลือดต่ำ...หาทางป้องกันยาก...แต่รักษาได้นะ!!

โรคเกล็ดเลือดต่ำ หากตรวจพบว่าเป็นแล้วได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดอาการก็จะทำให้ปลอดภัยและหายขาดได้ แต่หากปล่อยไว้ อันตรายสุดๆ โดยเฉพาะเด็กๆ หรือผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่องซึ่งหากได้เรียนรู้เกี่ยวกับโรคเกล็ดเลือดต่ำ จะช่วยให้คุณ เข้าใจ และรับมือได้ถูกต้อง   ยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับโรคเกร็ดเลือดต่ำว่ามีสาเหตุมาจากอะไร  ซึ่ง โรคเกล็ดเลือดต่ำ ( ITP immune thrombocytopenic purpura) เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเกิดการต่อต้านเกล็ดเลือดที่อยู่ในกระแสเลือดของตัวเอง

ภาวะของการเกิดเกล็ดเลือดต่ำ
แพทย์ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรคเกล็ดเลือดต่ำ แต่มีข้อสันนิษฐานว่าผู้ที่เป็นอาจได้รับเชื้อไวรัสบางชนิด แล้วร่างกายมีภาวะภูมิคุ้มกันโดยการสร้างแอนตี้บอดี้ไปทำลาย แต่แอนตี้บอดี้อาจหลงเหลืออยู่ในกระแสเลือด จึงเกิดการทำลายเกล็ดเลือดของผู้ป่วยเอง ในขณะเดียวกันเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวยังคงทำงานปกติ ซึ่งโรคเกล็ดเลือดต่ำ สามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่จะพบบ่อยในเด็กอายุ 2-6 ขวบ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง สำหรับเด็กทีเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำ แม้จะสามารถสร้างภูมิต้านทานได้แล้ว แต่ก็ทำให้อาจได้รับไวรัสบางชนิดหรือแม้แต่การหยิบจับสิ่งของ หากพบในเด็กที่อายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ทำให้มีโอกาสเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำชนิดเรื้อรัง( CHRONIC ITP) ได้สูงขึ้น

อาการที่เห็นได้ชัดของโรคเกล็ดเลือดต่ำ
ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ในภาวะปกติระดับเกล็ดเลือดจะต้องอยู่ที่ 150,000 – 400,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร  ซึ่งเกล็ดเลือดจะมีหน้าที่ช่วยห้ามเลือดที่เกิดจากบาดแผล และจะทำการจับตัวกันเป็นก้อนที่ผนังของหลอดเลือด เพื่อทำการหยุดการไหลของเลือด  อาการของโรคเกล็ดเลือดต่ำจะเห็นได้ว่ามีรอยฟกช้ำ จ้ำเลือด ในบริเวณที่ไม่น่าจะเกิดการกระทบหรือกระแทกง่ายอย่างบริเวณลำตัว หน้าท้อง หรือหลัง โดยใช้เวลานานเป็นสัปดาห์กว่าจะหาย หรือหากมีการชนหรือกระแทก อาการเขียวช้ำอาจจะนานมากที่รอยจะจางลง และมากกว่าที่ควรจะเป็น  บางคนมีเลือดกำเดาไหลนาน และไม่หยุดทั้งๆ ที่กดห้ามเลือดอย่างถูกวิธีแล้ว

การรักษาโรคเกล็ดเลือดต่ำ ขึ้นอยู่กับระดับของเกล็ดเลือดอาจสังเกตอาการ ไม่ให้เกิดการกระทบกระแทก และหลีกเลี่ยงการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดบาดแผลที่ทำให้เลือดออก แต่หากเกล็ดเลือดมีระดับต่ำมาก ไม่ถึง 20,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร จำเป็นต้องได้รับการรักษาเนื่อง ซึ่งแพทย์จะรักษาด้วยการให้ยาสำหรับยับยั้งการทำลายเกล็ดเลือด IVIG ซึ่งเป็นวิธีรักษามาตรฐานที่ได้ผลวิธีหนึ่ง   


สถานะ : Public

บางคนอาจมีความวิตกกังวลหรือไม่มั่นใจในการดูแลตนเองหลังแพทย์ตรวจพบว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน

หลังแพทย์ตรวจพบว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน..ควรปฏิบัติตัวอย่างไร??

บางคนอาจมีความวิตกกังวลหรือไม่มั่นใจในการดูแลตนเองหลังแพทย์ตรวจพบว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน ผู้ป่วยจะต้องกินยาให้ครบถ้วนและต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์ โดยกินยาต้านกรด 1 สัปดาห์ แต่หากยังไม่ทุเลาดี หรือโรคกำเริบซ้ำหลังหยุดยาก็ให้พบแพทย์ทันที

การสังเกตอาการและข้อพึงระวังภาวะกรดไหลย้อน
ผู้ที่อยู่ในภาวะกรดไหลย้อนลองสังเกตว่าบริโภคสิ่งใดไปบ้างที่ทำให้อาการกำเริบ แล้วพยายามหลีกเลี่ยงทันที ไม่ว่าจะเป็น อาหารมันๆ อย่างของทอดๆ  ที่อมน้ำมัน หรือข้าวผัด   อาหารเผ็ดจัด หัวหอม กระเทียม แอลกอฮอล์ บุหรี่ เครื่องดื่มผสมกาเฟอีน น้ำอัดลม ชา กาแฟ หรือน้ำผลไม้เปรี้ยว ผลไม้เปรี้ยว ซอสมะเขือเทศ ฯลฯ และควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารปริมาณมาก (หรืออิ่มจัด) และหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำมากๆ ระหว่างมืออาหาร และที่สำคัญอาหารมื้อเย็นควรรับประทานในปริมาณที่น้อย และทิ้งช่วงห่างก่อนเวลาเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง

การดูแลตัวเองหลังเกิดอาการกรดไหลย้อน
เมื่ออยู่ในภาวะกรดไหลย้อน หลังกินอาหารควรปลดเข็มขัดและตะขอกางเกงให้หลวมที่สุด ควรนั่งตัวตรง และไม่ควรนอนราบหรือนั่งงอตัว โค้งตัวลงต่ำ หรือจะยืนให้รู้สึกสบายท้อง หลีกเลี่ยงการยกของหนักและการออกกำลังกายหลังอาหารใหม่ๆ  แต่ให้หมั่นออกกำลังกายและผ่อนคลายความเครียดในช่วงเย็นๆ หรือตอนเช้าเพราะความเครียดมีส่วนทำให้หลั่งกรดมากขึ้น ทำให้อาการกำเริบได้ และหากมีอาการกำเริบของโรคกรดไหลย้อนตอนเข้านอน หรือตื่นนอนตอนเช้า ซึ่งอาจจะมีอาการเจ็บคอ เสียงแหบ เจ็บลิ้น ไอ ควรหนุนศีรษะสูง 6-10 นิ้ว และให้หนุนขาเตียงด้านศีรษะให้สูง  โดยให้เตียงหรือลำตัวเอียงลาดจากศีรษะลงมาถึงระดับเอว หรือหากสามารถใช้เตียงที่มีกลไกปรับหัวเตียงให้สูงได้ ก็จะดีไม่น้อย แต่ไม่แนะนำให้ใช้วิธีหนุนหมอนหลายใบให้สูง เพราะอาจทำให้ท้องโค้งงอได้ส่งผลทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น และดันให้น้ำย่อยไหลย้อนได้

การรักษาผู้มีภาวะกรดไหลย้อนแพทย์จะให้การรักษาด้วยการแนะนำ และให้ยารักษาซึ่งอาจเป็นขนานใดขนานหนึ่ง  ซึ่งอาจจะเป็นยาต้านกรดชนิดน้ำและยาลดการสร้างกรดอย่างแรง  ซึ่งครั้งแรกที่เริ่มให้การรักษาภาวะกรดไหลย้อนจะให้ยาติดต่อกันนาน 4-8 สัปดาห์ หรือ 3-6เดือนในรายที่เป็นมาก และหลังการรักษาผู้ป่วยกรดไหลย้อนจะต้องปฏิบัติตัวในการป้องกันไม่ให้โรคกำเริบอย่างเคร่งครัด ก็จะสามารถทำให้ปลอดจากอาการและภาวะแทรกซ้อนได้   

โรคเก๊าท์เป็นโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติในการเผาผลาญสารพิวรีน

การหลีกเลี่ยงอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์เป็นโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติในการเผาผลาญสารพิวรีน (PURINE) ในกระบวนการการเผาผลาญสารอาหารนั้นจะทำให้เกิดกรดยูริก โดยพบว่าในคนปกติจะมีกรดยูริกประมาณ 1,000 มิลลิกรัม และสามารถขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ ได้ประมาณ 700 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ในกรณีของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ จะพบว่ามีการขับถ่ายลดลงกว่าคนปกติ ดังนั้นจึงมีการสะสมของกรดยูริคอยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกายโดยเฉพาะตามข้อกระดูกและพังผืดรวมถึงระบบทางเดินปัสสาวะ จนทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรง โดยเฉพาะที่ข้อนิ้วเท้า

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
พบว่าอาหารบางชนิดที่มีพิวรีนสูง ดังนั้นผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทนี้ เช่น อาหารประเภทเครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก เนื้อสัตว์ น้ำสกัดจากเนื้อสัตว์ ไข่ปลา กุ้ง หอยปลาอินทรีย์ กระถิน ชะอม ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ หากรับประทานมากเกินไป จะทำให้กรดยูริคในเลือดสูงขึ้น  ส่วนอาหารที่มีปริมาณสารพิวรีนปานกลาง ได้แก่ เบียร์และเหล้าต่างๆ เนื้อหมู เนื้อวัว ปลาหมึก ปู ปลากะพงแดง ใบขี้เหล็ก สะตอ ผักโขม ดอกกะหล่ำ ยอดแค ถั่วลิสง ถั่วลันเตา เห็ด ตำลึง แตงกวา หน่อไม้ หน่อไม้ฝรั่ง ซึ่งผู้ป่วยสามารถรับประทานได้บ้างแต่ไม่บ่อย และอาหารประเภทที่มีพิวรีนต่ำ ผู้ป่วยสามารถกินได้ตามไม่จำกัด ซึ่งได้แก่ ธัญพืชชนิดต่างๆ  ข้าว ขนมปังขาว นมและผลิตภัณฑ์จากนม เช่น เนยเหลว เนยแข็ง ไข่ น้ำตาล วุ้น ผักและผลไม้ต่างๆ เป็นต้น

ยาที่ควรหลีกเลี่ยง
นอกจากอาหารที่มีผลต่อสารพิวรีนของผู้ป่วยโรคเก๊าท์แล้ว การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาลดความดันโลหิตก็ยังมีส่วนในการทำให้กรดยูริคในเลือดสูงขึ้นอีกด้วย และการดื่มน้ำให้มาก ๆ อย่างน้อยวันละ 3 ลิตร จะช่วยเพิ่มการขับกรดยูริกออกทางไต และช่วยลดโอกาสการตกตะกอนจนเป็นนิ่วในไตได้  การรับประทานผักและผลไม้ชนิดต่าง ๆ ให้มากขึ้น จะช่วยลดความเป็นกรดในปัสสาวะ และยังส่งผลให้เกิดการขับปัสสาวะมากขึ้น  อย่างไรก็ตาม คนเป็นโรคเกาต์ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักยอดอ่อนตามที่กล่าวมาข้างต้น

อาหารเหล่านี้แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคเก๊าท์สำหรับคนปกติ แต่หากผู้ป่วยโรคเก๊าท์ที่มีกรดยูริคสูงอยู่แล้วรับประทานเข้าอาหารเหล่านี้เข้าไป อาจจะทำให้เกิดโรคกำเริบบ่อยขึ้นได้ ดังนั้นอาหารจึงจัดเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมอาการของโรค ถึงแม้ว่าโรคเก๊าท์จะเป็นโรคที่ไม่ได้ร้ายแรงจนเป็นสาเหตุให้เกิดการเสียชีวิต แต่อาจจะเป็นต้นตอของโรคแทรกซ้อนต่างๆที่อันตรายยิ่งกว่านี้ได้ ทั้งนี้ยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการใช้ชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่คือการรีบเร่งรักษาเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เราจะต้องทรมานกับอาการปวดเหล่านี้อีกต่อไป

เรียกได้ว่า “โรคพุ่มพวง” เป็นอีกหนึ่งชื่อที่คนไทยส่วนใหญ่คุ้นเคยกันเป็นอย่างมาก

สัญญาณอันตราย!!! อาการบ่งบอกของโรคพุ่มพวง
เรียกได้ว่า โรคพุ่มพวง” เป็นอีกหนึ่งชื่อที่คนไทยส่วนใหญ่คุ้นเคยกันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการเรียกชื่อของโรคตามชื่อของราชินีลูกทุ่งคนดังในตำนาน ผึ้ง พุ่มพวง ดวงจันทร์” ที่ได้เสียชีวิตด้วยโรค SLE หรือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับโรคพุ่มพวงหรือโรค SLE นี้ว่าเกิดจากอะไร แล้วมีอาการใดบ้าง??ที่บ่งบอกว่าเรากำลังจะเสี่ยงเป็นโรคนี้ เพื่อที่จะเป็นแนวทางและทำให้คุณได้รู้กับโรคร้ายอันตราย ภัยเงียบที่เราควรทำความเข้าใจและระมัดระวังอย่างใกล้ชิด

โรคพุ่มพวง  คืออะไร
โรคพุ่มพวงมีชื่อตามทางแพทย์ว่า SLE (Systemic Lupus Erythematosus - SLE) มีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่าโรคลูปัส เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายที่มีความผิดปกติในการทำงาน โดยต่อต้านและทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ จนทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังตามอวัยวะต่างๆ เช่น ข้อและไขกระดูก ผิวหนัง เส้นผม ไต ตับ ปอด ระบบเลือด หัวใจระบบประสาทและสมอง รวมไปถึงสามารถที่จะเกิดขึ้นได้ทุกอวัยวะในร่างกาย

สัญญาณของโรคพุ่มพวง (SLE)
โรคพุ่มพวงหรือโรค SLE ในผู้ป่วยแต่ละคนนั้นจะมีอาการและลักษณะที่แตกต่างกันไป ซึ่งอาการแรกเริ่มของโรคพุ่มพวงในทั่วไปนั้นจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ เหนื่อยล้าและอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อต่างๆ ซึ่งการแสดงออกของโรคเกิดขึ้นได้หลากหลายทั้งในอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งหรือเกิดขึ้นทีเดียวพร้อมๆเลยก็ได้ สำหรับสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกถึงโรคพุ่มพวงที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่นั้นจะเป็นอาการปวดตามข้อที่มีมากผิดปกติ อาการไข้ต่ำที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน มีผื่นแดงขึ้นบริเวณใบหน้าและร่างกายส่วนต่างๆ ยิ่งโดยเฉพาะในช่วงที่โดนแสงแดดหรือแสงไฟก็จะยิ่งลุกลามมากขึ้น มีอาการผมร่วงที่มากเกินผิดปกติ บวมตามแขนและตามขา ใบหน้าหรือหนังตา รวมไปถึงผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ขาดหรือไม่มาติดต่อกันเป็นระยะเวลา 2-3 เดือนขึ้นก็มีความเสี่ยงในการเกิดโรคพุ่มพวงได้เช่นกัน

ความรุนแรงของโรคพุ่มพวง
โดยปกติแล้วแพทย์จะทำการจัดแบ่งความรุนแรงของโรคพุ่มพวงออกเป็นระดับ ความรุนแรงน้อย ความรุนแรงปานกลาง และรุนแรงมาก ตามระบบของอวัยวะและอาการที่กำเริบตามชนิดของอาการที่เกิดขึ้นในแต่ละส่วนของร่างกาย อย่างเช่น อาการทางผิวหนัง ผมร่วง อาการทางข้อและกล้ามเนื้อ คืออาการรุนแรงขั้นน้อยไปจนถึงปากกลาง เป็นต้น ส่วนอาการผิดปกติที่ไตหรือระบบเลือด สมอง และประสาทก็ถือว่าเป็นอาการขั้นรุนแรง

และนี่ก็เป็นเรื่องราวของโรคพุ่มพวง สัญญาณอันตราย อาการบ่งบอกของโรค ซึ่งอาการของผู้ป่วยโรคพุ่มพวงจะมีอาการรุนแรงมากในช่วงระยะเวลา ปีแรกหลังจากนั้นก็จะลดระดับลงมาเรื่อยๆ ตามการดูแลและควบคุมโรคซึ่งจะต้องดูแลรักษาตัวเองให้ดี 

โรค SLE (Systemic Lupus Erythematosus - SLE) หรือโรคลูปัส

วิธีการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรค SLE เพื่อลดการกำเริบของโรค?
โรค SLE (Systemic Lupus Erythematosus - SLE) หรือโรคลูปัส เป็นโรคชนิดเรื้อรังของกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันเพี้ยน ซึ่งเกิดจากร่างกายของผู้ป่วยมีการผลิตโปรตีนของภูมิคุ้มกันเลือด ชื่อว่า แอนติบอดี้” ขึ้นมามากผิดปกติ จนทำให้เกิดอันตรายและปัญหาทั้งทางตรงและทางอ้อม  จากปกตินั้นภูมิคุ้มกันของร่างกายคนเราจะทำการต่อต้านสิ่งอันตราย เชื้อโรคและแบคทีเรียต่างๆ ที่เข้ามาจากทางภายนอกร่างกาย แต่หากเป็นโรค SLE  จะทำให้ทำงานผิดเพี้ยน ต่อต้านร่างกายของตนเอง จนส่งผลให้เกิดเป็นการอักเสบบริเวณอวัยวะส่วนต่างๆ ที่จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นการทำลายอวัยวะภายใน ไม่ว่าจะเป็นทั้ง หัวใจ ไต ปอด รวมไปถึงระบบประสาท  ในปัจจุบันนี้ โรค SLE ยังไม่ค้นพบวิธีการรักษาให้หายขาด เป็นโรคชนิดเรื้อรังที่ผู้ป่วยโรค SLE จะต้องหมั่นดูแลสุขภาพและปฏิบัติพร้อมทั้งรักษาตัวให้ถูกต้องมากที่สุด เพื่อที่จะได้ช่วยลดการลุกลามของโรคที่สามารถกำเริบได้ทุกเวลา

วิธีการดูแลและปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรค SLE
1.ผู้ป่วยโรค SLE ควรหลีกเลี่ยงการเผชิญและถูกสัมผัสกับแสงแดด ในช่วงเวลา 09.00-16.00 น. หรือในช่วงที่มีแดดร้อนจัด ซึ่งถ้าหากมีความจำเป็นจริงๆควรที่จะสวมหมวกเพื่อบังแดด กางร่ม ใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดก่อนออกจากบ้านอยู่เสมอ

2.เนื่องจากโรค SLE เป็นโรคชนิดเรื้อรังที่ใช้เวลาในการรักษายาวนาน ผู้ป่วยจะต้องฝึกตนเองให้มีระเบียบวินัยในการรับประทานยาให้ตรงเวลาตามที่แพทย์สั่ง เข้าพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ ผู้ป่วยโรค SLE ไม่ควรที่ละเลยหรือหยุดทานยาโดยพลการเด็ดขาด เพราะว่าการขาดวินัยและรับประทานยาอย่างไม่สม่ำเสมอนั้นจะส่งผลให้อาการกำเริบและโรคแทรกซ้อนต่างๆที่จะเป็นผลเสียต่อร่างกายอย่างมาก

3.ผู้ป่วยโรค SLE ควรพักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับให้เต็มอิ่ม ไม่ควรนอนดึกหรืออดนอนจนเกินไป พยายามทำจิตใจให้ผ่องใส ลดความตึงเครียด อย่าวิตกกังวลพร้อมฝึกจิตใจให้มีสติและเข้มแข็ง เพื่อที่จะทำให้เรามีแรงสู้และสามารถยอมรับและศึกษาทำความเข้าใจในโรคนี้และนำมาซึ่งการดูแลรักตัวเองและแก้ปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดี

4.ผู้ป่วยโรค SLE ควรดูแลความสะอาดอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อตามอวัยวะต่างๆ หมั่นดูแลสุขภาพฟัน ความสะอาดของร่างกาย ผิวหนัง ซอกมือซอกเล็บ เพื่อที่จะได้ลดการติดเชื้อจากพยาธิ ไวรัส และแบคทีเรียต่างๆ ในกรณีนี้ถ้าผู้ป่วยมีอาการป่วยไข้ มีฝีหรือตุ่มขึ้นตามผิวหนัง ไอมีเสมหะ ให้รีบพบแพทย์เพื่อที่จะได้ตรวจเช็คและรักษาได้อย่างทันทีท่วงที

นอกจากนี้ผู้ป่วยโรค SLE จะต้องหมั่นตรวจเช็คความผิดปกติของร่างกายที่แสดงถึงการกำเริบของโรค ไม่ว่าจะเป็น ไข้สูง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายๆ มีอาการบวมตามอวัยวะต่างๆ ปวดข้อและกระดูกรวมไปถึงมีผื่นตามตัว ผู้ป่วยจะต้องรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อตรวจและรักษาได้อย่างทันท่วงที 

สาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมักเกิดขึ้นจากปัญหาการแพ้ภูมิตัวเอง

สาเหตุของการเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

http://als-mnd.lnwshop.com/
สาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมักเกิดขึ้นจากปัญหาการแพ้ภูมิตัวเอง (Autoimmune Disorder) โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติ ของการติดต่อกันระหว่างเส้นประสาทกับกล้ามเนื้อ โดยในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เราจะพบว่าความผิดปกติดังกล่าว ทำให้กล้ามเนื้อไม่สามารถหดตัวเหมือนคนปกติได้ และยังพบอาการภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อร่างกายของตนเองร่วมด้วย นอกจากนี้ยังพบความผิดปกติของต่อมไทมัส (Thymus Gland) ในผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาจมีสาเหตุมาจากเนื้องอกของต่อมไทมัส หรืออาจเกิดจากต่อมไทมัสที่มีขนาดโตผิดปกติได้เช่นกัน
 
อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่มีความรุนแรงน้อยมากๆ นั้น มีโอกาสที่จะพลาดจากการวินิจฉัยได้ง่าย เนื่องจากอาการกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงนั้นอาจมีสาเหตุมาจากโรคอื่นได้เช่นกัน โดยในการวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้น ในเบื้องต้นแพทย์จะเริ่มวินิจฉัยจากประวัติรวมไปถึงการตรวจร่างกาย และอาการของผู้ป่วย ว่าอยู่ในกลุ่มอาการของผู้ป่วยโรคกล้าม เนื้ออ่อนแรงหรือไม่ โดยเฉพาะการตรวจทางระบบประสาท เช่นการเคลื่อนไหวของตา โดยการขยับลูกตาและเปลือกตาได้ตามปกติหรือไม่ แพทย์อาจส่งตัวผู้ป่วยไปทำกาวินิจฉัยเพิ่มเติม โดยการตรวจเลือด การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ทดสอบการทำงานของปอด และการตรวจการชักนำประสาท เพื่อยืนยันการเกิดโรคในขั้นต่อไป
การรักษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเบื้องต้น
ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงอยู่มากมาย ที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น โดยแพทย์จะต้องพิจารณาเพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม และสอดคล้องกับเงื่อนไขของผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงแต่ละราย เช่น ตำแหน่งที่เกิดอาการ ความรุนแรงของอาการ อายุของผู้ป่วย ซึ่งวิธีการรักษาโดยการใช้ยา ต้องอยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์เพราะยาก็มีผลข้างเคียงได้เช่นกัน การบำบัดด้วยอิมมูโนโกลบูลิน ซึ่งจะช่วยปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายการเปลี่ยนถ่ายพลาสมา การตัดต่อมไทมัส ในกรณีที่พบความผิดปกติของต่อมไทมัส ซึ่งจะช่วยลดอาการได้มากกว่า 70% และบางคนก็อาจหายขาด และการรักษาทางกายภาพบำบัดในการป้องกันปัญหาข้อติดและช่วยฝึกการหายใจ เป็นต้น
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงรักษาให้หายได้จริงหรือ??
โดยสรุปแล้ว โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นโรคที่เกิดการความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และเน้นเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง ดังนั้นผู้ป่วยควรพักผ่อนให้มาก หลีกเลี่ยงความร้อนและความเครียด เพื่อลดการเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ลดการออกแรงจากการทำงานหนัก ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่อ่อนนุ่มและไม่ต้องเคี้ยวมาก แบ่งมื้ออาหารเป็นหลาย ๆ มื้อ และควรระมัดระวังการสะดุดล้มของผู้ป่วย ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถป้องกันโรคนี้ได้อย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่หากใครเป็นโรคนี้แล้ว ถ้าได้รับคำแนะนำและการรักษาจากแพทย์อย่างถูกวิธี ก็สามารถรักษาให้หายได้เช่นกัน