Sunday, August 20, 2017

โรคเก๊าท์ (Gout) พบว่าเป็นอาการผิดปกติของร่างกายที่เนื่องมาจากการกินดีอยู่ดีมากเกินไป

สาเหตุและอาการของโรคเก๊าท์ที่ควรรู้

โรคเก๊าท์ (Gout) พบว่าเป็นอาการผิดปกติของร่างกายที่เนื่องมาจากการกินดีอยู่ดีมากเกินไป และไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ซึ่งจัดว่าเป็นโรคที่อยู่จัดอยู่ในกลุ่มของโรคปวดข้อ ข้ออักเสบซึ่งเกี่ยวพันกับกรดยูริคในกระแสเลือด ส่วนใหญ่โรคเก๊าท์จะพบได้มากเป็นพิเศษในผู้ชายวัยประมาณ 40 ปีขึ้นไป และมีโอกาสเป็นมากว่าผู้หญิงเกือบ 10 เท่า เนืองจากผู้หญิงมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง ซึ่งเจ้าฮอร์โมนตัวนี้มีหน้าที่ช่วยขับกรดยูริคออกจากร่างกาย แต่โรคเก๊าท์ที่เกิดกับผู้หญิงนั้น ส่วนใหญ่จะพบได้ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนแล้ว และยังพบว่าโรคเก๊าท์สามารถถ่ายทอดกันได้ทางกรรมพันธุ์ได้เช่นกัน
สาเหตุของที่ทำให้เกิดโรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์ยังจัดว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคชราภาพหรือโรคที่เกิดจากร่างกายเสื่อมสภาพลง เนื่องจากร่างกายมีกระบวนการการขับกรดยูริคออกจากร่างกายที่ทำงานเสื่อมประสิทธิภาพลง ทำให้มีกรดยูริคในเลือดสูงขึ้น และจากการที่ร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูงอยู่เป็นเวลานาน จนเกิดการตกตะกอนและสะสมของกรดยูริคตาม ตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น ข้อ หรือระบบทางเดินปัสสาวะ จึงส่งผลให้เกิดอาการปวดบวมแดงอักเสบการบริเวณข้อต่อหรือนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะ
ส่วนสาเหตุที่ทำให้กรดยูริกในเลือดสูงก็เนื่องมาจากร่างกายมีการสร้างกรดยูริกมากกว่าปริมาณที่ขับออก ซึ่งเป็นอาการของโรคเก๊าท์นั่นเอง

อาการที่พบในผู้ป่วยโรคเก๊าท์
พบว่าผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้ออย่างรุนแรง ซึ่งจะเกิดขึ้นทันทีแบบฉับพลัน  เราอาจจะพบอาการปวดได้ในส่วนของ ข้อมือ ข้อนิ้วมือ ข้อศอก ข้อไหล่ ข้อเท้า โดยเฉพาะอาการปวดนิ้วหัวแม่เท้า ซึ่งเราพบได้บ่อย โดยข้อที่ปวดจะมีอาการบวมและเจ็บมากจนเดินไม่ไหว ผิวหนังในบริเวณนั้นจะตึง บวม แดง ร้อน ปวดมาก และเจ็บมากเมื่อถูกสัมผัส ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง การอักเสบจะถี่ขึ้น จนทำให้มีอาการปวดเรื้อรัง และอาจจะพบว่ามีปุ่มก้อนขึ้นบริเวณใกล้ข้อต่างๆ ซึ่งเกิดจากการตกผลึกของกรดยูริกใต้ผิวหนัง จนส่งผลให้ข้อเหล่านั้นผิดรูปและข้อเสียอย่างถาวรในที่สุด

โรคเก๊าท์หากว่าเป็นแล้วโอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้นั้นมีน้อย ต้องได้รับการรักษาไปตลอดชีวิต ถึงแม้ว่าโรคเก๊าท์จะเป็นโรคเรื้อรังและเจ็บปวดทรมาน แต่ถ้าหากดูแลตัวเองให้ดี ก็สามารถบรรเทาอาการและควบคุมโรคไม่ให้กำเริบได้ ทั้งนี้เพราะเป็นโรคเก๊าท์เกี่ยวข้องอาหารการกินและรวมถึงพันธุกรรมด้วย ดังนั้นวิธีที่จะช่วยได้ดีที่สุดคือ พยายามปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์สั่ง และหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดอาการกำเริบ เพียงเท่านี้คุณก็ไม่ต้องทรมานกับอาการปวดอีกต่อไป 

โรคเอสแอลอี หรือ โรค SLE เป็นโรคอันตรายที่เคยสร้างความสะเทือนใจด้วยการ

ทำความรู้จัก โรค SLE สาเหตุและความอันตรายที่คุณไม่ควรละเลย
โรคเอสแอลอี หรือ โรค SLE เป็นโรคอันตรายที่เคยสร้างความสะเทือนใจด้วยการพรากชีวิตของราชินีลูกทุ่งคนดัง พุ่มพ่วง ดวงจันทร์ นักร้องลูกหญิงมากความสามารถ ที่ทำเกิดความตื่นตระหนกและทำให้หลายๆคนลุกขึ้นมาเรียนรู้และทำความรู้จักกับโรค SLE กันมากขึ้น หรือโรคที่รู้จักกันในชื่อ โรคพุ่มพวง” ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับความอันตรายของโรค SLE กันมากขึ้น รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตหรือไม่ มีสาเหตุเกิดขึ้นจากอะไร เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลตัวเองและทำให้คุณรู้จักโรค SLE หรือ โรคพุ่มพวง โรคร้ายอันตรายที่เราควรระวัง

โรค SLE คืออะไร?
โรค SLE (Systemic Lupus Erythematosus - SLE) มีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า โรคลูปัส เป็นโรคที่จัดอยู่ในชนิดเรื้อรัง ของกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันเพี้ยน ซึ่งเกิดจากร่างกายของผู้ป่วยมีการผลิตโปรตีนของภูมิคุ้มกันเลือด ชื่อว่า แอนติบอดี้” ขึ้นมามากผิดปกติ จนทำให้เกิดอันตรายและปัญหาทั้งทางตรงและทางอ้อม เรียกง่ายๆก็คือ จากที่ปกติแล้วภูมิคุ้มกันของร่างกายคนเราจะทำการต่อต้านและกำจัดสิ่งอันตราย เชื้อโรคและแบคทีเรียต่างๆที่เข้ามาจากทางภายนอกร่างกาย แต่กลับทำงานผิดเพี้ยน ต่อต้านร่างกายของตนเอง จนส่งผลให้เกิดเป็นการอักเสบบริเวณอวัยวะส่วนต่างๆที่จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นการทำลายอวัยวะภายใน ไม่ว่าจะเป็นทั้ง หัวใจ ไต ปอด รวมไปถึงระบบประสาท 

ความรุนแรงของโรค SLE
โรค SLE จะมีความรุนแรงและอันตรายที่แตกต่างกันไปตามสภาพร่างกายของแต่ละคน ทั้งมีคนที่อยู่ในขั้นรุนแรง และไม่รุนแรง รวมไปถึงคนที่มีอาการไม่รุนแรงที่สามารถกำเริบขึ้นมาได้ทุกเมื่อ ซึ่งในปัจจุบันนี้ โรค SLE เป็นโรคที่จะต้องรักษาตลอดชีวิต ถึงแม้ว่า โรค SLE  จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่เราก็สามารถดูแลและควบคุมอาการของโรคให้เป็นปกติพร้อมทั้งใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติทั่วไปถ้าหากว่าตรวจพบและรักษาได้ในระยะเริ่มต้น  โรค SLE มีผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 20 ไปจนถึง 45 ปี มีการศึกษาพบว่าผู้หญิงมีโอกาสที่จะเป็นมากกว่าผู้ชายมากถึง 9-1 สามารถตรวจพบได้ทุกเชื้อชาติและทั่วโลก แต่จะมีพบผู้ป่วยมากเป็นพิเศษ ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก เช่น ไทย,จีน,ฮ่องกง,สิงคโปร์ เป็นต้น

ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีการตรวจพบสาเหตุที่แท้จริงของโรค SLE แต่ก็ได้มีการวิจัยค้นพบว่าโรค SLE มีสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของพันธุกรรม,ฮอร์โมน,เชื้อโรค ไวรัสและแบคทีเรีย รวมไปถึงปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม แสงแดด และสารเคมีในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นเราควรที่ศึกษาข้อมูลถึงการดูแลและแนวทางการรักษาพร้อมสังเกตความผิดทางร่างกาย หมั่นตรวจสุขภาพอยู่เสมอ เพื่อที่จะได้เป็นการป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคอันตรายอย่าง SLE 

MG ย่อมาจาก Myasthenia Gravis หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี

มารู้จักโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง MG ...กันดีกว่า ?
MG ย่อมาจาก Myasthenia Gravis หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ และสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหนังตาตก หายใจลำบาก ตาพร่ามัว พูดไม่ชัด เคี้ยวและกลืนลำบาก ยิ้มได้น้อยลง เพราะมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้าและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับระบบหายใจ แต่หากเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมากก็อาจทำให้กล้ามเนื้อทั้งตัว เช่น กล้ามเนื้อแขนและขาอ่อนแรงลงได้ แต่ทั้งนี้กลับพบว่าสำหรับกล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อเรียบต่าง ๆ ในร่างกายจะไม่ได้รับผลกระทบไปด้วย ปัจจุบันพบว่าการรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงทำได้เพียงเพื่อบรรเทาอาการ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสมและเอาใจใส่จากคนรอบข้างอย่างสม่ำเสมอ

อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงทางตา
อาการที่เกิดจากการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้าที่พบโดยทั่วไปได้แก่ หนังตาตกข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง เป็นอาการแรกที่สังเกตได้ รวมถึงพบปัญหาด้านการมองเห็น เช่น เห็นภาพซ้อน หรือมองไม่ชัด ซึ่งพบว่าอาการจะดีขึ้นเมื่อหลับตาข้างใดข้างหนึ่งลง หากกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกบนใบหน้าได้รับผลกระทบ จะทำให้การแสดงออกทางสีหน้าถูกจำกัด เนื่องจากไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อบนใบหน้าได้ เช่น ยิ้มได้น้อยลง นอกจากนี้ยังพบว่าโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีอาการที่เกิดจากการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อลำคอ แขนและขา มักเกิดขึ้นที่แขนมากกว่าที่ขา และอาจเกิดขึ้นร่วมกับอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น เดินตัวตรงได้ยาก รวมถึงอาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงบริเวณคอที่จะมีอาการอ่อนแรง ซึ่งจะส่งผลให้ตั้งศีรษะหรือชันคอลำบาก

ความผิดปกติของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
อาการที่เกิดจากการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อรอบปากเพดานอ่อน หรือลิ้นอ่อนแรงส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติบางอย่างเกี่ยวกับการพูด การเคี้ยวและการกลืน เช่น พูดเสียงขึ้นจมูก พูดเสียงเบาแหบ กลืนลำบาก เคี้ยวไม่ได้ ไอ สำลักอาหาร และในบางกรณีอาจเป็นสาเหตุไปสู่การติดเชื้อที่ปอด  ซึ่งยังพบว่าผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจำนวนหนึ่งมีอาการหายใจลำบาก โดยเฉพาะหลังออกกำลังกายหรือขณะนอนราบอยู่บนเตียง

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง MG
 พบว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้อาการโรคนี้รุนแรงขึ้น ได้แก่ การติดเชื้อ เป็นไข้ ร้อนหรือเย็นเกินไป ออกแรงมากเกินไป เครียด มีประจำเดือน โรคเกี่ยวกับไทรอยด์ และการทานยาบางชนิด ซึ่งจัดว่าเป็นโรคเรื้อรัง อาการดังกล่าวมาข้างต้น มักเป็น ๆ หาย ๆ และพบว่าอาการจะดีขึ้นเองหลังจากหยุดพักการใช้งาน ดังนั้นหากคุณพบว่ามีปัญหาด้านการมอง การหายใจ การพูด การเคี้ยว การกลืน รวมไปถึงการเคลื่อนไหวร่างกายที่เป็นไปโดยลำบาก เช่น การใช้มือและแขน การทรงตัว การเดิน เป็นต้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ และการรักษาจากแพทย์อย่างถูกวิธี