Thursday, May 18, 2017

โรคพาร์กินสันเป็นอาการเสื่อมทางสมองเรื้อรังและจะมีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

เผยแนวทางการสังเกตร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติในอาการของโรคพาร์กินสัน
โรคพาร์กินสันเป็นอาการเสื่อมทางสมองเรื้อรังและจะมีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้การควบคุมการเคลื่อนไหว การพูด และการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ ในร่างกายเสื่อมลง  โดยทางสถิติน่าจะมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้ในประเทศไทย ประมาณ 40,000 - 50,000 คน ซึ่งในบางส่วนอาจยังไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง ตลอดจนยังไม่ได้รักษาอย่างถูกวิธี

อาการของโรคพาร์กินสัน 
อาการหลักของโรคพาร์กินสันจะมีอาการแสดงของโรคมากหรือน้อยนั้นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย และระยะเวลาการเป็นโรค และภาวะแทรกซ้อนที่ตามมา ซึ่งอาการของโรคประกอบด้วย อาการหลัก ได้แก่
1.อาการสั่น
อาการสั่นเป็นอาการเริ่มต้นของโรคพาร์กินสัน มักสั่นมากเวลาอยู่นิ่ง ๆ แต่ถ้ามีการเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ อาการสั่นจะลดลงหรือหายไปเอง
2. อาการเกร็ง
อาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อทำให้รู้สึกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะแขน ขาและหลัง โดยที่ไม่ได้เคลื่อนไหวหรือทำงานหนัก กล้ามเนื้อจะมีความตึงตัวสูงและเกร็งแขนอยู่ตลอดเวลา 
3. อาการเคลื่อนไหวช้า
อาการเคลื่อนไหวไม่กระฉับกระเฉงว่องไวเหมือนเดิม  โดยการเคลื่อนไหวเริ่มช้าลง  เริ่มเดินช้า ทำกิจกรรมต่าง ๆ ช้าลงกว่าเดิมมาก
 4. อาการสูญเสียการทรงตัว 
เมื่อมีอาการสูญเสียการทรงตัวอาจจะมีอาการที่อาจพบร่วมด้วย ได้แก่ อาการน้ำลายไหล  เขียนตัวหนังสือเล็ก เดินไม่แกว่งแขน เดินซอยเท้า เท้าติด ยกเท้าลำบาก หกล้มบ่อย นอนไม่หลับ เป็นต้น 
ในปัจจุบันโรคพาร์กินสันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม รวมทั้งการเปลี่ยนถ่ายของเซลล์ตัวอ่อน หรือวิธีล้างสารตกค้างจากร่างกาย เนื่องจากยังไม่รู้ถึงสาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ว่าเกิดจากอะไร     


สิ่งที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคหนังแข็ง คือ ผิวหนังบวมตึง โดยเฉพาะที่มือและแขนท่อนล่าง

เผยแนวทางการสังเกตว่าเป็นโรคหนังแข็งหรือไม่?
สิ่งที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคหนังแข็ง คือ ผิวหนังบวมตึง โดยเฉพาะที่มือและแขนท่อนล่าง ผู้ป่วยมีอาการกำมือลำบากแต่ไม่มีอาการเจ็บ ซึ่งเมื่อลองกดที่ผิวหนังอาจพบว่ามีอาการแดงขึ้นเล็กน้อย  ผู้ป่วยอาจมีอาการมือบวมอยู่ตลอดโดยไม่เกี่ยวกับการทำงาน
http://scleroderma.lnwshop.com/
อาการมือบวมอาจเกิดพร้อมกับสภาวะที่มีนิ้วมือซีดเขียวและปวดเมื่อสัมผัสกับความเย็น อาการอาจเกิดได้ถึงแม้จะสัมผัสความเย็นที่ไม่ได้เย็นมาก เช่น ขณะอาบน้ำหรือเข้าห้องปรับอากาศในอุณหภูมิที่คุ้นเคย แพทย์มักเรียกกลุ่มอาการเหล่านี้ว่า 
ปรากฏการณ์เรย์โนด์ (Raynaud’s phenomenon)”
จุดสังเกตของโรคหนังแข็งมีดังนี้
โรคหนังแข็ง” มักเกิดอาการได้หลากหลายอาการด้วยกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ได้รับผลกระทบ แต่ที่พบร่วมกันได้บ่อยคือ อาการทางกระดูกและกล้ามเนื้อ อาการทางผิวหนัง รวมถึงอาการในระบบทางเดินอาหาร
 อาการทางผิวหนัง
ลักษณะเด่นของโรคหนังแข็ง คืออาการทางผิวหนังจะเริ่มจากผิวหนังที่บวมตึงหนา โดยเฉพาะที่ มือเท้า แขนขา และใบหน้า หลังจากเกิดอาการบวมได้ระยะหนึ่งอาจเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนผู้ป่วยจะมีสีผิวที่เข้มขึ้น ผิวหนังหนาและแข็งมากขึ้นจนกำมือได้ไม่สนิทและเหยียดนิ้วมือไม่ออก ใบหน้าตึงแข็งจนริ้วรอยเหี่ยวย่นหายไป ผู้ป่วยจะมีอาการอ้าปากกว้างไม่ได้
ซึ่งอาการทั้งหมดที่เกิดอาการของโรคหนังแข็งนี้เกิดขึ้นในระยะเวลาที่แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย บางรายคืบหน้าเร็วมากในระยะเวลาเพียง 1-2 เดือน แต่บางรายก็มีอาการค่อยเป็นค่อยไปอาจใช้เวลาหลายเดือนหรือร่วมปี อาการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วคือลักษณะอาการในกลุ่มที่มีอาการรุนแรง และมักเกิดภาวะแทรกซ้อนของอวัยวะภายในได้บ่อยกว่า 


ด่างขาว หรือ Vitiligoเป็นโรคผิวหนังที่พบในเด็กที่กำลังจะเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น

5  วิธีในการรักษาเมื่อลูกเป็นโรคด่างขาว

ด่างขาว หรือ Vitiligoเป็นโรคผิวหนังที่พบในเด็กที่กำลังจะเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น ซึ่งส่วนหนึ่งจะมีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคด่างขาว  สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของเซลล์เม็ดสีผิว (melanocyte) ถูกทำลาย

ลักษณะของโรคด่างขาว มีผื่นจะเป็นวงสีขาว อาจมีขอบเรียบหรือขอบหยัก  พบได้ทุกบริเวณของร่างกาย โดยจะพบมากในบริเวณที่โดนแสงแดด  และมักพบบริเวณใบหน้า รอบดวงตา ปลายนิ้วมือ และยังทำให้ขนที่อยู่บริเวณที่เป็นด่างขาวมีสีขาว มีลักษณะต่างจากกลาก เกลื้อน หรือกลากน้ำนม

วิธีรักษาโรคด่างขาว 
1.  รักษาด้วยทายาคอร์ติโคสเตียรอยด์
ได้ผลในคนไข้บางราย แต่ต้องในปริมาณยาที่เหมาะสม เนื่องจากยามีผลข้างเคียงจึงควรใช้อย่างระมัดระวัง
2.  รักษาด้วยใช้ยากระตุ้นการทำงานและการแบ่งตัวของเซลล์
ช่วยสร้างเม็ดสีเมื่อได้รับแสงอัลตราไวโอเลต โดยรับประทานยาหรือทายาแล้วไปตากแดดหรือฉายแสง
3.  รักษาด้วยการให้ยาในกลุ่ม pimecrolimus  และ  tacrolimus
ใช้ได้ผลในการรักษาด่างขาวบริเวณใบหน้าและคอ
4.  รักษาด้วยการฉายแสงอาทิตย์เทียม
โดยใช้รังสียูวีกระตุ้นเซลล์สร้างสีให้ทำงาน   การรักษามีแบบที่ใช้การทายาหรือกินยา แล้วฉายแสงยูวีเอ (Photochemotherapy PUVA) ซึ่งอาจมีผลข้างเคียง เช่น แสบ คัน และมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนัง จึงไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 12 ปี
5.  รักษาด้วยการปลูกถ่ายผิวหนัง
ทำโดยตัดผิวหนังบริเวณที่เซลล์สีปกติมาปลูกบริเวณที่เป็นด่างขาว (skin grafts) การรักษาวิธีนี้ทำได้ค่อนข้างยากและต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
โรคด่างขาวในเด็กนั้นจะรักษาค่อนข้างยาก  และมีโอกาสน้อยที่จะหายได้เองตามธรรมชาติ ต้องใช้เวลาในการรักษาค่อนข้างนาน และอาจมีผลข้างเคียงจากยาได้ สิ่งสำคัญคู่ไปกับการรักษา คือต้องหลีกเลี่ยงแดดจัด ๆ เพราะบริเวณที่เป็นโรคด่างขาว มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนังได้มากกว่าบริเวณอื่น ๆ 


ขนคุดเป็นปัญหากวนใจขนคุดนั้นเกิดได้ทั้ง บริเวณหนวด รักแร้ หน้าแข้ง ขนคุดเกิดได้หลังการระคายเคือง

วิธีกำจัดขนคุดเพื่อให้หมดปัญหาอย่างถาวร
http://www.skin-pro.biz/
ขนคุดเป็นปัญหากวนใจขนคุดนั้นเกิดได้ทั้ง บริเวณหนวด รักแร้ หน้าแข้ง ขนคุดเกิดได้หลังการระคายเคือง ทั้งจากการถอน การ wax การเสียดสี หรือแม้แต่การเกาแรงๆ  ทำให้ขนงอกออกมาไม่พ้นผิวหนังทำให้เกิดการอักเสบ เป็นอาการคัน ตุ่มหนอง การรักษาขนคุดแบ่งเป็นการรักษาแบบเฉพาะหน้าคือการรักษาเมื่อมีอาการอักเสบ 
การรักษาขนคุดระยะอักเสบ 
เมื่อมีขนคุดขึ้นมาใหม่ ๆ จะรู้สึกคัน ๆ เจ็บ ๆ  ต้องรักษาการอักเสบควรรีบรักษาเพราะปล่อยไว้หากเผลอไปเกาเป็นแผลเป็นรอยดำ จะรักษายากยิ่งกว่า
1.  หยุดโกนขน
เลี่ยงการโกนขนบริเวณที่เกิดการอักเสบของรูขุมขนอย่างน้อยหนึ่งเดือนเพื่อลดการระคายเคืองทำให้กลับเป็นซ้ำ
2.  ฟอก
คนที่มีขนคุดมาก ๆ ใช้สบู่ฟอกทำความสะอาดบริเวณขนคุดเช้าเย็นสบู่ทำความสะอาดมีฤทธิ์ระคายเคืองได้ จึงควรใช้แต่พอดี โดยฟอกทำความสะอาดบริเวณที่มีขนคุดด้วยสบู่ฆ่าเชื้อเมื่ออาบน้ำ เช้าเย็น
3.  เขี่ย
เขี่ยขนคุดที่มีขนปักทิ่มกลับลงสู่ผิวหนัง ที่ไม่สามารถงอกออกมาได้ให้ใช้เข้มเขี่ยให้เส้นขนพ้นออกมาจากผิวด้วยความระมัดระวัง
กำจัดปัญหาขนคุดอย่างถาวร 
คือการทำเลเซอร์กำจัดขนเพราะเมื่อไม่มีขนแล้ว ก็จะไม่มีขนคุดอีกต่อไปหากต้องการให้ได้ผลดีจะต้องทำเลเซอร์หลายครั้งซึ่งโดยทั่วไปไม่ต่ำกว่า 4 - 6 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 4 - 6 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของขน หลังการรักษาจะทำให้ปริมาณเส้นขนลดน้อยลงและขนาดขนก็จะบางลงเรื่อยๆ

เส้นขนที่เกิดใหม่ก็จะมีขนาดที่เล็กลง และยังค่อยๆ ขึ้นน้อยลง และหมดไปในที่สุด​ดังนั้นการกำจัดขนให้ถาวรเพื่อไม่ให้เกิดขนคุดอีกต่อไปจึงต้องใช้เวลาในการรักษานาน กำจัด ขนโดยใช้เลเซอร์ทำให้เส้นขนขึ้นช้าลง จำนวนและขนาดเส้นขนบางลงด้วย 


ป็นการอักเสบที่ผิวหนังอันเกิดจากการสัมผัสสารต่าง ๆ แล้วทำให้เกิดผื่นแดง

ความรู้เรื่องโรคผิวหนังอักเสบที่เกิดจากการสัมผัส

http://peskin.lnwshop.com/
โรคผิวหนังอักเสบ เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของผิวหนัง ซึ่งอาการของโรคนั้นสามารถแสดงออกได้หลายรูปแบบโดย มีปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดทั้งจากภายในและภายนอกร่างกายถ้าหากเกิดจากปัจจัยภายนอกร่างกายเป็นการเกิดปฏิกิริยาระหว่างผิวหนังกับสารที่สัมผัส ทำให้เกิดผื่น และการอักเสบ เราเรียกว่าโรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัส


โรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัส (Contact Dermatitis) 
เป็นการอักเสบที่ผิวหนังอันเกิดจากการสัมผัสสารต่าง ๆ แล้วทำให้เกิดผื่นแดง คัน แดง บวม แห้ง แตก การเกิดอาการอักเสบจากการสัมผัส สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการระคายเคืองจากสารเคมี หรือน้ำยาซักล้าง เช่น  น้ำยาล้างจาน  น้ำยาล้างห้องน้ำ  และสารก่อภูมิแพ้ก็ทำให้เกิดอาการผิวหนังอักเสบได้เช่นกัน

โรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสในเกิดในส่วนต่างๆ ของร่างกายและพบได้บ่อย เช่น
ผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสเกิดที่ริมผีปาก
มักพบในเครื่องสำอาง เช่น ลิปสติก เกิดได้จากสารที่อยู่ในลิปสติกเช่น น้ำหอม สี สารกันเสีย สารกันแดด สารให้ความชุ่มชื้น หรือโลหะทีผสมในตลับบรรจุภัณฑ์ ยาสีฟัน  สารแต่งกลิ่นอาหาร น้ำยาบ้วนปาก  และสำหรับผู้ที่ชอบกัดเล็บ สารจากยาทาเล็บ หรือแม้แต่เล็บปลอม(เล็บอคริลิก) ก็ส่งผลให้อักเสบได้เช่นกัน

ผิวหนังอักเสบเนื่องจากการสัมผัสแมลง 
อาการอักเสบที่ผิวหนังเกิดจากการบี้ตัวแมลงแล้วทำให้สารเคมีที่อยู่ในตัวแมลงถูกผิวหนัง ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นไหม้ เป็นตุ่มน้ำ ปวดแสบปวดร้อน ซึ่งจะมีอาการเกิดขึ้นหลังจากที่ได้สัมผัสแมลง

ปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัส และมักอยู่รอบ ๆ ตัววิธีง่ายที่สุดคือหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดโรค


ผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงินที่ศีรษะอาจจะรู้สึกกังวลถึงสภาพส้นผมบนศีรษะจะหลุดร่วงหรือไม่นั้น

ความรู้เรื่องการรักษาโรคสะเก็ดเงินที่ศีรษะ

ผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงินที่ศีรษะอาจจะรู้สึกกังวลถึงสภาพส้นผมบนศีรษะจะหลุดร่วงหรือไม่นั้น  สามารถสบายใจได้เนื่องจาก  โรคสะเก็ดเงินบริเวณหนังศีรษะนั้นไม่ได้ทำให้ผมร่วงแต่อย่างใดเพราะผื่นและการอักเสบที่เกิดขึ้นเกิดบริเวณผิวหนังชั้นนอกเท่านั้น ไม่ได้ลึกถึงรากผม

แต่ส่วนใหญ่แล้วอาการผมร่วงนั้นมักจะเกิดขึ้นจากการเกา และผลข้างเคียงของการใช้ยาและสารเคมีต่างๆในการรักษา   ดังนั้นหลักการดูแลตัวเองของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินก็คือ

หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้อาการของโรคสะเก็ดเงินกำเริบ 
โดยการสังเกตตัวเองว่าปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลให้เกิดการกำเริบของผื่น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ซึ่งส่วนใหญ่การกำเริบจะเกิดจากปัจจัยหลาย ๆ ปัจจัยร่วมกัน จึงทำให้ยากในการสังเกต ส่งผลให้ผู้ป่วยจำเป็นต้องจำกัดตัวเองจากปัจจัยหลายอย่างที่ไม่แน่ใจว่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลจริงหรือไม่ดังนั้นการหาจุดสมดุลให้กับตัวเองที่ไม่ตึงเครียดเกินไปจึงเป็นเรื่องสำคัญ

ดูแลสภาพจิตใจหลีกเลี่ยงความเครียด
คนรัก  ครอบครัว  เพื่อน สังคม เป็นกลุ่มที่สำคัญมากในการช่วยให้กำลังใจผู้ป่วย ผู้ป่วยโรคนี้ต้องเผชิญกับความกดดันและความรู้สึกเป็นปมด้อย กลัวการถูกปฏิเสธจากสังคม ต้องการ ให้คนรอบข้างยอมรับ  โรคสะเก็ดเงิน  นี้เป็นโรคที่สภาพจิตใจและอารมณ์ส่งผลต่ออาการอย่างมาก โดยเฉพาะอารมณ์ที่แปรปรวนนั้นส่งผลเสียต่อการรักษาและมีส่วนที่จะทำให้อาการกำเริบได้

เมื่อเป็นโรคสะเก็ดเงินบริเวณศีรษะควรหลีกเลี่ยงการแกะเกา และต้องระวังไม่ให้ผิวหนังโดนกระทบเสียดสีขีดข่วน หลีกเลี่ยงการโดนสารเคมีเพื่อไม่ให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว และต้องคอยดูแลเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวเพื่อไม่ให้ผิวแห้งและระคายเคืองได้ง่าย


Wednesday, May 10, 2017

แม้โรครูมาตอยด์จะเป็นที่คุ้นหูมานาน แต่เชื่อว่าจะมีสักกี่คนที่รู้ว่าโรคนี้คืออะไร

รู้ช้าเสี่ยงพิการจริงหรือ??..กับอาการโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
แม้โรครูมาตอยด์จะเป็นที่คุ้นหูมานาน แต่เชื่อว่าจะมีสักกี่คนที่รู้ว่าโรคนี้คืออะไร หากใครที่ไม่เป็นจะไม่มีโอกาสรู้เลยว่า โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะมีความทุกข์ทรมานมาก ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดรองจากโรคข้อเสื่อม  หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจเกิดภาวะทุพพลภาพ เพาะการเคลื่อนที่ของข้อหลุดส่งผลทำให้เกิดการผิดรูป แต่โรคนี้ไม่ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรมและไม่ใช่โรคติดต่อจึงไม่สามารถแพร่กระจายไปยังบุคคลอื่น

สาเหตุของโรครูมาตอยด์
สาเหตุของการเกิดโรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นเพราะความผิดปกติของเซลล์ต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้นเหตุที่ทำให้เยื่อบุข้ออักเสบ มีการสร้างน้ำในข้อเพิ่มขึ้นส่งผลทำให้กระดูกอ่อนถูกทำลายและกระดูกในข้อกร่อน ปลอกหุ้มข้อรวมทั้งเอ็นรอบข้อหลวมเกิดการฉีกขาด ทำให้ข้อเคลื่อนหลุดและผิดรูป

อาการของโรครูมาตอยด์
อาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หากใครเป็นสังเกตได้จากอาการปวด บวมและกดเจ็บ มีน้ำในข้อ มีการขยับเคลื่อนไหวข้อได้น้อยลงเนื่องจากเจ็บปวดมาก และมีการอักเสบของข้อพร้อมกันหลายๆ ข้อทั้งสองฝั่งของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ข้อเล็กๆ ของนิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อเท้า ข้อมือข้อศอก รวมถึงข้อไหล่ ซึ่งอาการจะเพิ่มความปวดของข้ออักเสบอีกเรื่อยๆ  จนกลายเป็นข้ออักเสบเรื้อรัง  และอาจพบปุ่มรูมาตอยด์ที่ผิวหนังด้านหลังแขน ที่ต่ำจากปลายศอกลงมา หรือพบบริเวณนิ้วมือหรือข้อมือ มีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด ซึ่งอาการส่วนใหญ่เริ่มจากการฝืดตึงตามข้อต่างๆ โดยเฉพาะที่ข้อนิ้วมือเวลาตื่นตอนเช้า ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถกำมือได้เต็มที่หรือลุกขึ้นจากเตียงนอนลำบาก  

โรครูมาตอยด์สามารถรักษาให้หายขาดได้
มีการศึกษาพบว่าโรครูมาตอยด์จะมีความรุนแรงมากในช่วงระยะ  23  ปีแรก หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่ที่ทราบว่าตัวเองเป็น และเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้โรคสงบลงหรือหายขาดได้ รูมาตอยด์เป็นโรคข้ออักเสบซึ่งเป็นโรครุนแรงและเรื้อรัง จนทำลายโครงสร้างต่างๆ ของข้อในร่างกายและทำให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้  หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง  ซึ่งหากผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธีและเหมาะสมจนกระทั่งสามารถควบคุมโรคได้ดี จะสามารถมีชีวิตที่เป็นปกติสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีเช่นเดียวกับคนปกติทั่วไป  


ใครจะรู้บ้างว่า อาการนอนไม่หลับก็เสมือนเป็นโรคชนิดหนึ่ง

เมื่อผู้สูงอายุนอนไม่หลับ... อันตรายแค่ไหนนะ???

ใครจะรู้บ้างว่า อาการนอนไม่หลับก็เสมือนเป็นโรคชนิดหนึ่ง ที่อาจส่งผลข้างเคียงต่อโรคอื่นๆ  ยิ่งหากผู้สูงอายุที่ใช้เวลานอนไม่เพียงพอเป็นระยะเวลาที่ยาวนานด้วยแล้ว อาจส่งผลทำให้หน่วยความจำเสื่อมสภาพ อีกทั้งยังมีสภาวะอารมณ์แปรปรวน ทำให้ภูมิคุ้มกันลดต่ำและฮอร์โมนเสียสมดุล และอาจเกิดปัญหาที่หลอดเลือดหัวใจ อีกทั้งยังส่งผลให้ระบบการเผาผลาญของกลุ่มผู้สูงวัยเสื่อมประสิทธิภาพอีกด้วย

อาการนอนไม่หลับของวัยสูงอายุ
อาการนอนไม่หลับอาจเกิดขึ้นด้วยปัจจัยที่แตกต่างกันไป  ผู้สูงอายุส่วนมากมักจะเป็นโรคนอนไม่หลับ เพราะฮอร์โมนเมลาโทนิน ทำให้อาการนอนหลับลดต่ำลง  ในวัยชรามีผลกระทบไม่น้อยต่อการเปลี่ยนแปลงในอวัยวะระบบต่างๆ  โรคนอนไม่หลับถือเป็นอาการหนึ่งที่เกิดจากสมองทำงานไม่เป็นปกติ และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ทำให้โรคนอนไม่หลับเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ซึ่งบางคนนอนได้ไม่กี่ชั่วโมงก็ต้องตื่นซะแล้ว

อันตรายจากโรคนอนไม่หลับ
ผู้สูงอายุจะต้องระวังอาการนอนไม่หลับ   ซึ่งการนอนอย่างเพียงพอจะช่วยในเรื่องของการซ่อมแซมร่างกายในส่วนที่สึกหรอได้ดี และจะมีส่วนที่ช่วยฟื้นฟูประสิทธิภาพการทำงานของสมอง ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายอีกด้วย   ผู้สูงอายุบางรายเวลานอนหลับสนิทจะทำให้สมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการกระตุ้นเรื่องการหายใจทำงานลดลง อาจส่งผลทำให้ผู้ป่วยเกิดการหยุดหายใจได้ชั่วขณะ แล้วสมองจะถูกกระตุ้นอย่างรุนแรงอีกครั้งเพื่อให้เกิดการหายใจ เมื่อตื่นขึ้นมาอาจส่งผลทำให้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับหรือหลับไม่ต่อเนื่อง  
  
สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อผู้สูงอายุนอนไม่หลับ
หากผู้สูอายุเกิดอาการนอนไม่หลับบ่อยๆ หรือทุกคน ให้พยายามหลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน หรือหากจะนอนก็นอนได้แต่ไม่ควรเกินครึ่งชั่วโมงในช่วงบ่าย หลีกเลี่ยงการดื่มที่มีแอลกอฮอล์  ไม่ควรดื่มกาแฟเวลาเย็น และไม่ควรดื่มน้ำก่อนที่จะเข้านอน เพราะอาจทำให้ตื่นมาปัสสาวะเวลากลางคืนบ่อยๆ ซึ่งอาจทำให้นอนไม่หลับได้ หรือจะหันมาเพิ่มกิจกรรมการออกกำลังกายในช่วงเวลากลางวันให้มากขึ้น พยายามจัดสิ่งแวดล้อมภายในห้องนอนให้เงียบที่สุด และที่สำคัญฝึกการทำสมาธิเพื่อให้จิตใจสงบ ก็คงดีไม่น้อย

ปัญหาการนอนไม่หลับของกลุ่มผู้สูงอายุ อาจเป็นเพราะความชราที่มีผลกระทบต่อความเสื่อมของสมอง ผู้สูงอายุจะต้องพยายามปฏิบัติตัวตามคำแนะนำดังกล่าว หากอาการนอนไม่หลับยังไม่ดีขึ้น จะต้องได้รับการแนะนำจากแพทย์ เพื่อหา ทางรักษาต่อไป 


โรคเกล็ดเลือดต่ำ หรือ (Thrombocytopenia) เป็นสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิด...

เรียนรู้ลักษณะโรคเกล็ดเลือดต่ำ...ตั้งแต่เริ่มมีอาการครั้งแรก!! 
โรคเกล็ดเลือดต่ำ หรือ (Thrombocytopenia) เป็นสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการเลือดออกผิดปกติอย่างรุนแรง ซึ่งผู้ป่วยบางรายมีเกล็ดเลือดต่ำมาก หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที อาจเกิดการเสียชีวิตจากอาการเลือดออกจนหมดตัวได้ ซึ่งสาเหตุของเกล็ดเลือดต่ำมีหลายอย่าง หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะ สามารถทำให้ผู้ป่วยหายและมีชีวิตเป็นปกติได้

อาการของภาวะเกล็ดเลือดต่ำ?
เกล็ดเลือด (Platelet) ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของเม็ดเลือดที่อยู่ในกระแสเลือด ซึ่งในกระแสเลือดของเรานั้นมีเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด โดยมีหน้าที่สำคัญทำให้เลือดอยู่ในภาวะปกติ และต้องไม่ทำให้เกิดเลือดออกง่าย แต่หยุดยาก ซึ่งจำนวนและหน้าที่ของเกล็ดเลือดจะต้องปกติ  คนที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำเพียงเล็กน้อยอาจไม่มีอาการอะไร และไม่มีเลือดออกที่ใดให้เห็น หากแต่เมื่อเกล็ดเลือดต่ำถึงระดับหนึ่งแล้ว จะมีอาการที่ชัดเจนคือเลือดออก ซึ่งอาการเลือดออกจากเกล็ดเลือดต่ำ มักเกิดที่บริเวณผิวหนังที่เป็นจุดๆ เหมือนมีเลือดออกแดงๆ คล้ายกับยุงกัด กดแล้วไม่จางหายไป  บางคนมีอาการเป็นจ้ำเลือดออกตื้นๆ ซึ่งชาวบ้านมักจะเรียกว่า พรายย้ำ

อาการเลือดออกจากเกล็ดเลือดต่ำที่เป็นจ้ำเลือดปกติ  หากคลำดูจะเรียบแต่อาจจะมีไตแข็งเท่ากับเมล็ดถั่วเขียว ซึ่งอยู่ตรงกลางจ้ำเลือดซึ่งจะมีสีม่วงปนเหลืองเนื่องจากเม็ดเลือดแดงที่อยู่ในตำแหน่งเลือดออกจะแตกตัวเป็นสารสีเหลืองทำให้สีจ้ำเลือดจะไม่สม่ำเสมอ แล้วแต่การแตกตัวของเม็ดเลือดแดงก่อนหลัง หากมีจ้ำเป็นสีน้ำตาลเสมอกันอาจไม่ใช่จ้ำเลือด อาจเกิดจากการแพ้ยาบางชนิด ที่เรียกว่า fixed drug eruption ซึ่งบางคนอาจมีเลือดออกแถวบริเวณเยื่อเมือกบุในช่องปาก หรือเลือดออกที่เหงือก ส่วนในหญิงที่มีประจำ เดือนอาจมีเลือดประจำเดือนออกมากผิดปกติ แต่บางคนปัสสาวะออกมาเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระมีเลือดปน  

อาการเลือดออกที่เกิดจากเกล็ดเลือดต่ำเพียงสาเหตุเดียว ส่วนใหญ่มักไม่มีเลือดออกในข้อหรือในกล้ามเนื้อลึกๆ  ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้นจะต้องหาสาเหตุของเลือดออกจากปัจจัยการแข็งตัวของเลือดผิดปกติด้วย

สาเหตุของโรคต่างๆ ที่ทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อน

ข้อปฏิบัติในการดูแลรักษาของผู้ป่วยภาวะกรดไหลย้อน
การกินอาหารที่ไขมันสูง ของทอดและอาหารผัดน้ำมัน หรือข้าวผัด จะทำให้กระเพาะอาหารเคลื่อนไหวช้าลงและ ทำให้มีโอกาสเกิดกรดไหลย้อนได้มากขึ้น ส่วนการสูบบุหรี่หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาร์บอเนตประเภทน้ำอัดลมมากไป รวมทั้งการกินอาหารเผ็ดจัด ซอสมะเขือเทศ หัวหอม กระเทียม น้ำมะเขือเทศ น้ำองุ่น น้ำผลไม้เปรี้ยว ผลไม้เปรี้ยว ช็อกโกแลต น้ำส้ม คั้น หรือสะระแหน่ และการใช้ยาบางชนิด จะเสริมให้หูรูดคลายตัว หรือมีกรดหลั่งมากขึ้น เหล่านี้ต่างเป็นสาเหตุของโรคกรดไหลย้อนได้ รวมทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือกาเฟอีน อย่างพวก กาแฟ หรือยาชูกำลัง นอกจากจะเป็นการกระตุ้นให้หลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้นแล้ว ยังเสริมให้หูรูดคลายตัวอีกด้วย  การนอนราบภายใน 2 ชั่วโมงหลังกินอาหาร หรือการนั่งงอตัว โค้งตัวลงต่ำ จะทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้ง่ายขึ้น

สาเหตุของโรคต่างๆ ที่ทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อน
โรคหืด เชื่อว่าเป็นผลมาจากการไอและหอบ ทำให้เพิ่มแรงดันในช่องท้อง ทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อน ส่วนใครที่เป็นแผลเพ็ปติก หรือมีการใช้ยากลุ่มอนุพันธ์ฝิ่น จะทำให้อาหารขับเคลื่อนลงสู่ลำไส้ช้าลง ทำให้เป็นโรกรดไหลย้อน  และยังพบว่ามีปัจจัยกระตุ้น ให้โรคกำเริบที่สำคัญคือ การกินอิ่มมากไป โดยกินอาหารมื้อใหญ่หรือปริมาณมากซึ่งจะทำให้เกิดการกระตุ้นให้มีน้ำย่อยหลั่งออกมามาก  การขยายตัวของกระเพาะอาหารทำให้หูรูดคลายตัวมากขึ้น

อาการของโรคกรดไหลย้อน
ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนจะมีอาการปวดแสบตรงลิ้นปี่หรือยอดอก หลังรับประทานอาหาร ช่วงเวลา 30-60 นาที หรือหลังกินอาหารแล้วล้มตัวลงนอนราบ แต่ละครั้งมักปวดอยู่นาน 2 ชั่วโมง และมักมีอาการมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์และอาการเป็น ๆ หายๆ และเป็นเรื้อรัง บางคนอาจมีอาการปวดแสบร้าวจากยอดอกขึ้นไปถึงคอหอย  คล้ายอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือมีอาการจุกแน่นทียอดอกหรืออาจมีอาการคลื่นไส้ เรอบ่อยๆ  หรือมีก้อนจุกที่คอหอย

บางคนอาจมีอาการขย้อนหรือเรอเอาน้ำย่อยรสเปรี้ยวขึ้นไปที่คอหอย หรือรู้สึกมีรสขมของน้ำดี และลมหายใจมีกลิ่น มีความเปรี้ยวปาก อาจมีอาการเสียงแหบ บางรายตอนตื่นนอนอาจรู้สึกขมคอ เจ็บคอ หรือแสบลิ้น เป็นเรื้อรังแรมเดือนซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน

มื่อกล่าวถึงการเกิดของโรคหูดหงอนไก่นั้น แม้โรคชนิดนี้จะเป็นโรค

ใครบ้างที่เสี่ยงจะเป็นโรคหูดหงอนไก่
              หลายท่านคงทราบกันมาแล้ว ว่าโรคหูดหงอนไก่ เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า HPV ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้เช่นกัน                 
              เมื่อกล่าวถึงการเกิดของโรคหูดหงอนไก่นั้น แม้โรคชนิดนี้จะเป็นโรคที่ถูกลงความเห็นว่ามีต้นเหตุมาจากการมีเพศสัมพันธ์ จนเรียกได้ว่า เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์” ชนิดหนึ่งเลยก็ตาม แต่ในความเป็นจริงนั้น โรคชนิดนี้อาจมิได้เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์เพียงทางเดียวเท่านั้นนะครับ เพราะเชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถพบได้ตามร่างกายของเราในส่วนต่างๆอีกด้วย เช่น บริเวณผม ตามซอกเล็บ หรือเครื่องใช้ต่างๆ ทำให้ผู้ที่เป็นโรคหูดหงอนไก่บางคนไม่จำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์ก็อาจติดได้ด้วยการเอามือหรืออวัยวะต่างๆที่มีเชื้อ HPV มาสัมผัสบริเวณอวัยวะเพศครับ แต่ถึงอย่างไรท่านก็ไม่ต้องกังวลไปหรอกนะครับ เพราะร่างกายของคนเราส่วนใหญ่กว่า 90% มีภูมิคุ้มกันเชื้อโรค HPV ครับ เว้นแต่คนบางกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมากๆเช่น คนที่เป็นโรคเอดส์ นั่นเองครับ
            ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว จึงอาจสรุปพอคร่าวได้ว่าผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นหูดหงอนไก่กลุ่มแรกคือ กลุ่มคนที่มีถูมิต้านทานต่ำมากๆ และได้รับเชื้อ HPV เข้าไปในร่างกายครับ กลุ่มต่อไปคือผู้ที่นิยมมีกิจกรรมทางเพศโดยไม่สวมใส่ถุงยางอนามัย เนื่องจากโรคชนิดนี้ติดต่อได้ดีโดยการมีเพศสัมพันธ์ดังนั้นคนกลุ่มนี้จึงมีความเสี่ยงสูงเช่นกันครับ และกลุ่มสุดท้ายคือ กลุ่มคนที่นิยมเปลี่ยนคู่นอนเป็นว่าเล่น ทั่งนี้เพราะนอกจากจะมีเพศสัมพันธ์บ่อยแล้ว ยังยากที่จะทราบได้ว่าคนที่มานอนกับเขานั่น มีโรคติดต่อชนิดนี้มาฝากเราด้วยหรือไม่